กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/254
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาขอบเขตการใช้สิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems of the scope of secured creditors' rights subject to the Bankruptcy Act B.E.2483: Article 95 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สราวุธ ปิติยาศักดิ์ รัชฎา บัวทอง, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ พระราชบัญญัติล้มละลาย ลูกหนี้และเจ้าหนี้--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเจ้าหนี้มีประกัน ของกฎหมาย ล้มละลาย หลักการและเหตุผลในการกำหนดสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย ศึกษาถึงการใช้สิทธิของเจ้าหนี้ในกระบวนการดำเนินคดีล้มละลาย สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้มีประกัน ขั้นตอนและหลักเกณฑ์การยื่นขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน ตามกฎหมายของประเทศไทย และของต่างประเทศ วิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิของเจ้าหนี้มีประกันที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย ในการหาแนวทางที่เหมาะสมในการขอบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาข้อกฎหมายในการบังคับใช้ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมสอดคล้องกบยุคสมัยปัจจุบัน การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้า เก็บรวบรวม ข้อมูลจาก ตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ วารสารทางกฎหมาย รายงานวิชาการทางกฎหมาย ข้อมูลเอกสาร ทางกฎหมายคำพิพากษาศาลฎีกา กฎระเบียบ คำสั่ง และโดยการสัมภาษณ์บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมาย อาทิผู้พิพากษา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทนายความ ผู้บริหารคดีของธนาคาร ผลการศึกษาพบว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 กำหนดการใช้สิทธิของเจ้าหนี้ มีประกัน ไว้สองช่องทางคือ การยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ประกอบมาตรา 96 หรือการขอใช้สิทธิบังคับหลักประกัน ตามมาตรา 95 ซึ่งเจ้าหนี้มีประกันสามารถเลือกใช้ได้เพียงช่องเดียวเท่านั้น โดยในส่วนของบทบัญญัติในมาตรา 95 กฎหมายเพียงกาหนดบททั่วไปของสิทธิความเป็นเจ้าหนี้มีประกันเท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดของการใช้สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน กฎเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน แนวการปฏิบัติที่ชัดเจนไว้แต่อย่างใด ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ต้องตีความในการนำมาปฏิบัติการที่มาตรา 95 ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนทำให้ในทางปฏิบัติ ต้องนำหลักจากคำพิพากษาศาลฎีกา และกรมบังคดีซึ่งเป็นหน่วยงานเกี่ยวข้องโดยตรง ได้ออกคำสังเรื่องการปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายกรณี บังคับตามสิทธิ ของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติงาน ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จากช่องว่างของกฎหมายในการศึกษาครั้งนี้จึงเห็นควร ให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 95 ให้มีหลักเกณฑ์ชัดเจนในการบังคับใช้เพื่อประโยชน์อันแท้จริง ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลาย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ)-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/254 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib158657.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 51.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License