กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2561
ชื่อเรื่อง: การจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษาตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Educational management under the dual education model as perceived by teachers and school administrators in schools under the Secondary Education Service Area Office 21
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรณพ จีนะวัฒน์
อำนาจ ทองอร่าม, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการศึกษา--ไทย
ระบบการเรียนการสอน
การสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษาตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 และ (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่จัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษา 8 โรงเรียนๆ ละ 10 คน จำนวนทั้งสิ้น 80 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้างานหลักสูตร หัวหน้างานทะเบียนและวัดผล หัวหน้างานแนะแนว หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เจ้าหน้าที่งานทวิศึกษาและครูผู้สอน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษา ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยขั้นตอนการสำเร็จการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษาและการวัดและประเมินผล ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษา พบว่าภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบว่า ขั้นตอนการสำเร็จการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นการประกันคุณภาพหลักสูตรและการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ และ (2) ความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษาของโรงเรียน พบว่า ขั้นตอนการประกันคุณภาพหลักสูตรมีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาเป็นการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ และการวิเคราะห์ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน โดยขั้นตอนการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษามีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2561
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons