Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2562
Title: การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์การเกษตรน้ำพอง จำกัด จังหวัดขอนแก่น
Other Titles: Analysis of the performance and financial status of Nam Phong Agricultural Cooperative, Ltd.,Khon Kaen Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดุจนภา เทศสีหา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรน้ำพอง
สหกรณ์การเกษตร--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์ 2) เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะ การเงินของสหกรณ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวโน้มผลการดำเนินงานและฐานะการเงินสหกรณ์การเกษตรน้ำพอง จำกัด จังหวัด ขอนแก่น วิธีการศึกษา เป็นการเก็บข้อมูลทุติยภูมิ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารรายงานงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และเอกสารทางการเงินอื่นๆ ของสหกรณ์ในช่วงปี บัญชี 2553 -2557 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์งบการเงินตามแนวตั้ง การวิเคราะห์งบการเงินตามแนวโน้ม และการวิเคราะห์ อัตราส่วนทางการเงิน แบบ CAMELS โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปสหกรณ์ การเกษตรน้ำพอง จำกัด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2558 เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่มาก มีการดำเนินงาน 3 สาขา มีสมาชิก 5,794 คน ดำเนินธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจจัดหาสินค้ามา จำหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลิตผล ธุรกิจรับฝากเงิน และธุรกิจบริการและส่งเสริมการเกษตร มีสินทรัพย์ 614.91 ล้านบาท หนี้สิน 403.32 ล้านบาท และทุน 211.59 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 15.31 ล้านบาท 2) ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน ในช่วงปี 2553 –2557 มีกำไร ต่อเนื่องกัน ทุกปีฐานะการเงินของสหกรณ์สหกรณ์มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินไม่หมุนเวียน ทุนของสหกรณ์มีอัตราส่วนร้อยละ 34.41 - 37.53 ของหนี้สิน และ ทุน หากพิจารณาแล้วสหกรณ์มีความเสี่ยงเนื่องจากหนี้สินทั้งสิ้นมากกว่าทุน การวิเคราะห์ด้านอัตราส่วนทางการเงินในมุมมอง 6 มิติเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยสหกรณ์ พบว่า มิติที่ 1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าค่าเฉลี่ย แต่ยังมี ความเสี่ยงเนื่องจากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย การเติบโตของทุนและผลตอบแทนต่อส่วนของทุนสูงกวาสหกรณ์ เฉลี่ย มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์พอใช้ อัตราหนี้ค้างชำระต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ถึงแม้รอบหมุนของสินทรัพย์และอัตรา การเติบโตของสินทรัพย์จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแต่อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์นั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยมิติที่ 3 ขีดความสามารถในการ บริหารจัดการของสหกรณ์อยูในเกณฑ์ด้อยกว่าค่าเฉลี่ย เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงและไม่สามารถควบคุมได้ต่อการดำเนิน ธุรกิจจากโครงการพักหนี้ฯ โครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล มิติที่ 4 การทำกำไรของสหกรณ์อยู่ในเกณฑ์ดี สหกรณ์สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและบริหารกิจการให้มีกำไรสุทธิได้ดีกว่าค่าเฉลี่ย อัตราเงินออม/หนี้ต่อสมาชิกสูงกว่าค่าเฉลี่ย ค่อนข้างมาก แต่หนี้สินต่อสมาชิกสูงกว่าเงินออม มิติที่ 5 สภาพคล่องของสหกรณ์ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้ และเงินรับฝาก มิติที่ 6 ผลกระทบต่อธุรกิจได้รับผลกระทบในการดำเนินธุรกิจทั้งจากคู่แข่ง ความสามารถของสมาชิกเอง และ โดยเฉพาะการแทรกแซงจากรัฐบาลที่ไม่สามารถควบคุมได้ 3) แนวโน้มปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นทุกปี รายได้ ค่าใช้จ่าย มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น แต่กำไรสุทธิของสหกรณ์กลับมีแนวโน้มลดลง ส่วนฐานะการเงินโดยรวมค่อนข้างดี สินทรัพย์ หนี้สินและทุนของ สหกรณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2562
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
150201.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons