Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2567
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการกำจัดขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Cost-benefit analysis of solid waste management in Nonthaburi Provincial Administrative Organization
Authors: เรวดี จรุงรัตนาพงศ์
วิสนุญ์ ชอบธรรม, 2528- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการผลิต)
การกำจัดขยะ--ไทย--นนทบุรี
ขยะ--ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดนนทบุรี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการกำจัดขยะมูลฝอย ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ข้อมูลจากการศึกษานี้รวบรวมจากข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัยในอดีตและข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของทางเลือกที่เป็นไปได้ในการกำจัดขยะมูลฝอย 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 เทคโนโลยีฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล (สถานการณ์ปัจจุบัน) ทางเลือกที่ 2 เทคโนโลยีเตาเผาร่วมกับเทคโนโลยีฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล และทางเลือกที่ 3 เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงขยะร่วมกับเทคโนโลยีฝังกลบ แบบถูกหลักสุขาภิบาล และทดสอบความอ่อนไหวของผลการศึกษาด้วย (1) อัตราคิดลด (ร้อยละ 3 ร้อยละ 5 และ ร้อยละ 8) (2) การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยร้อยละ 20 (3) ราคาที่ดินที่ใช้เป็น พื้นที่ในการฝังกลบเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ (4) อายุการใช้งานของเครื่องจักรสั้นลงซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรเพิ่มขึ้น ผลการศึกษา พบว่า 1) การจัดการขยะมูลฝอยในสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ศึกษามีจัดการด้วยเทคโนโลยีฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล และ 2) ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า ทางเลือกที่ 3 เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงขยะร่วมกับเทคโนโลยีฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล ให้ผลตอบแทนสุทธิมากที่สุด โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 18,527 – 21,332 ล้านบาท ณ ราคาคงที่ พ.ศ. 2561 ตามอัตราคิดลดที่แตกต่างกัน และผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวทั้ง 3 ตัวแปร พบว่า ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลำดับทางเลือกแต่อย่างใด การที่ทางเลือกที่ 3 จะมีความเป็นไปได้มากขึ้น จึงควรส่งเสริมให้มีมาตรการสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะตั้งแต่ระดับครัวเรือน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2567
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161995.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons