กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/257
ชื่อเรื่อง: การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Use of information for instruction by early childhood teachers in schools under the office of Bueng Kan Primary Education Service Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทัศนา หาญพล
อาริยา เขียวรัตน์, 2514
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พัชรี ผลโยธิน
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การศึกษาปฐมวัย--ไทย--บึงกาฬ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัย (2) เปรียบเทียบสภาพการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัย จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์การสอนระดับปฐมวัย (3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัย และ (4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัย จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการสอนระดับปฐมวัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ครูปฐมวัยจำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมได้จำนวน 269 ชุด คิดเป็นร้อยละ 91.18 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูปฐมวัยใช้สารสนเทศ ส่วนมากเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และการจัดประสบการณ์พัฒนาผู้เรียน ต้องการใช้สารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยไม่เกิน 1 ปี ใช้ภาษาไทยและคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการค้นหา (2) เปรียบเทียบสภาพการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครู ปฐมวัย พบว่า ครูปฐมวัยเพศหญิงใช้สารสนเทศมากกว่าครูปฐมวัยเพศชาย ครูปฐมวัยที่มีอายุ 51 - 60 ปี ขึ้นไป ใช้ สารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนมากกวาครูปฐมวัยที่มีอายุ 20 - 30 ปี 31 - 40 ปี และ 41 - 50 ปี ครูปฐมวัยที่มีวุฒิปริญญาตรีใช้สารสนเทศมากกว่าครูวุฒิปริญญาโทและครูวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี และครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์การสอน 16 ปี ขึ้นไปใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาการเรียนการสอนมากกว่าครูที่มีประสบการณ์การสอน 1 - 5 ปี 6 - 10 ปี และ 11 - 15 ปี (3) ปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัย พบว่า ด้านแหล่งสารสนเทศ สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายไม่เสถียร และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเร็วของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอ ทำให้การดาวน์โหลดข้อมูลทำได้ช้า และ (4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศของครูปฐมวัย พบว่า ครูปฐมวัยที่มีอายุ 51 - 60 ปี มีปัญหาการใช้สารสนเทศ มากกวาครูที่มีอายุ 20 - 30 ปี 31 - 40 ปี และ 41 - 50 ปี คือไม่รู้วิธีการสืบค้นสารสนเทศ ครูปฐมวัยที่มีวุฒิ การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่าครูที่มีวุฒิปริญญาตรีและปริญญาโท คือ มีปัญหาในเรื่องสารสนเทศล้าสมัย ไม่ตรงกับความต้องการ และด้านประสบการณ์การสอนครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์การสอน 16 ปี ขึ้นไป มีปัญหาการใช้แหล่งสารสนเทศมากกวา ครูที่มีประสบการณ์ในการสอน 1 - 5 ปี 6 - 10 ปี และ 11 - 15 ปี คือผู้เชี่ยวชาญมีน้อย ไม่สามารถเข้าถึงตัวผู้มีความรู้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/257
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151563.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons