Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2580
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริลักษณ์ นามวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorทัศนีย์ ชูพรม-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-04T03:45:17Z-
dc.date.available2023-01-04T03:45:17Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2580-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามา จำหน่าย 2) ความต้องการของสมาชิกต่อการพัฒนาธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายและ 3) เสนอแนะแนวทางการ พัฒนาธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์การเกษตรสามชุก จำกัด ประชากรในการศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรสามชุก จำกัด จำนวน 4,445 คน กำหนด ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 และใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ปัจจัยภายในของสหกรณ์มีจุด แข็งด้านบุคลากร คือ คณะกรรมการ ผู้จัดการ พนักงานมีความจงรักภักดีต่อสหกรณ์สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่าง ดี ด้านเงินทุน คือ สหกรณ์มีสภาพคล่องทางการเงิน มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอในการดำเนินงาน ด้านวัสดุ อุปกรณ์ คือ มีอุปกรณ์สำนักงานเพียงพอต่อการให้บริการสมาชิก และด้านการจัดการ คือ จัดโครงสร้างการ บริหารงานได้เหมาะสม จุดอ่อนของสหกรณ์ ด้านบุคลากร คือ คณะกรรมการขาดความรู้ ด้านกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ ด้านเงินทุน คือ สหกรณ์ยังต้องอาศัยเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอก ด้านวัสดุอุปกรณ์ คือ ที่ตั้งสำนักงานอยู่ในซอยเล็ก แยกจากถนนใหญ่ทางสัญจรคับแคบ และด้านการจัดการ คือ การจัดหาสินค้ามา จำหน่ายให้สมาชิกยังไม่เพียงพอ สำหรับปัจจัยภายนอก สหกรณ์มีโอกาส ได้แก่ สหกรณ์มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมา ใช้ในการปฏิบัติงาน และภาครัฐให้การสนับสนุนเงินทุน สหกรณ์มีอุปสรรค ได้แก่ มีคู่แข่งทางการค้าเพิ่มมากขึ้น และสินค้าที่นำมาจำหน่ายไม่เพียงพอกับความต้องการของสมาชิก 2) สมาชิกต้องการให้สหกรณ์ดำเนินการด้าน ผลิตภัณฑ์ คือ จัดหาสินค้าประเภทการเกษตร ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 สินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล สินค้าประเภทอื่นๆ ได้แก่ผลิตภัณฑ์ซักผ้า สินค้าประเภทข้าวสาร ได้แก่ข้าวหอมมะลิ 50 กิโลกรัม มาจำหน่าย ด้านราคา ต้องการให้สหกรณ์จำหน่ายสินค้าราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับราคาท้องตลาด ด้าน ช่องทางการจำหน่าย ควรมีการจัดตลาดนัดสหกรณ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด ควรมีการจัดโปรโมชันลด ราคาของสินค้า 3) การพัฒนาธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย สหกรณ์ควรสำรวจความต้องการของสมาชิกก่อน จัดหาสินค้ามาจำหน่าย มีบริการส่งสินค้าถึงบ้านสมาชิก ปรับราคาสินค้าให้เท่ากับท้องตลาด เพิ่มช่องทางการ จำหน่ายโดยการจัดตลาดนัดสหกรณ์ และจัดกิจกรรมในการส่งเสริมการขาย ได้แก่ ให้คูปองส่วนลดในการซื้อ สินค้า และจัดโปรโมชั่นในการลดราคาของสินค้าอย่างสม่ำเสมอth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการค้าth_TH
dc.subjectการค้าปลีกth_TH
dc.subjectการจัดการธุรกิจth_TH
dc.subjectการสร้างสรรค์ทางธุรกิจ--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์การเกษตรสามชุก จำกัด จังหวัดสุพรรณบุรีth_TH
dc.title.alternativeGuidelines for development of purchasing business of Samchuk Agricultural Cooperative Limited, Suphan Buri Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to 1) study environmental conditions in operating purchasing business, 2) study the needs of the members towards the development of purchasing business, and 3) suggest guidelines in developing the purchasing business of Samchuk Agricultural Cooperative Limited. The population of this study was 4,445 members of Samchuk Agricultural Cooperative Limited. The sample size of 367 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05, and by using simple random sampling method. Data were collected by using questionnaires and were analyzed by using descriptive statistics, which were frequency, percentage, average, standard deviation, and content analysis. The results of the study showed that 1) for the operation of purchasing business, the internal factors that are the strength of the cooperative in regarding to personnel aspect were that committees, managers, and employees were loyal to the organization and performed their duties well. In terms of funding aspect, the cooperative had funding liquidity and had sufficient amount for the operation. As for the supply, the cooperative had sufficient equipment to provide services to the members. Lastly, for the management aspect, the cooperative had well-organized and appropriate structure. The weaknesses of the cooperative in regards to personnel aspect were the lack of knowledge among the committees in terms of laws, regulations, and rules of the cooperative. For the funding, the cooperative still needs funding from the external sources. For the supply, the office location was located in a small alley, isolated from the main road and had narrow pathway. In regards to management, there were the insufficiency goods to sell for members. For external factors, in regards to the opportunity, the cooperative had an advanced technology to use in the operation and were subsidized by the government sector. The treats in performing purchasing business were that there were many competitors and the insufficient amount of goods for sale to the members’ needs. 2 ) Members wanted the cooperative to find and provide certain products for the members at the cooperative stores. These products were agricultural goods (16-20-0 formula chemical fertilizer), fuel (diesel fuel), other products (laundry products), and rice (50 kilograms jasmine rice). In terms of price, the members wanted the cooperative sold cheaper products compared to the market price. For product distribution channel, there should be a cooperative flea market. Lastly, for marketing promotion, there should be promotions for products selling at the cooperative stores. 3 ) For the development of purchasing business, the cooperative should survey the needs of members prior to purchasing goods to the cooperative store, should provide home delivery services to members, should adjust the product price to be equal to the market price, should increase channels of product distribution through the cooperative flea market, and should organize promotional activities, which were providing discount coupons in buying products and providing product promotions for price discounts regularlyen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158707.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons