กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2590
ชื่อเรื่อง: | การถอดบทเรียนการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Lessons learnt from the participatory management in academic administration: a case study of Bang Pakok Witthayakom School |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ วรรณี แสงเดือนฉาย, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารการศึกษา การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ถอดบทเรียนการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม และ (2) นำเสนอแนวทางการพัฒนางานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษาคือ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 70 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน บุคลากรสายสนับสนุน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นาชุมชน และศิษย์เก่า เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) บทเรียนในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม คือ (1.1) วิธีการบริหารโรงเรียนที่ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิชาการอย่างแท้จริง ตั้งแต่การร่วมกำหนดทิศทางของโรงเรียน ร่วมดำเนินงาน ร่วมประเมินผล ร่วมรับรู้ และร่วมรับผลประโยชน์ (1.2) ผู้ที่เข้ามามีในการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน คือ คณะกรรมการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ บุคลากรสายสนับสนุน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และศิษย์เก่า โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม (1.3) เรื่องที่ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวช้องเข้ามามีส่วนร่วม จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การร่วมกำหนดทิศทางของโรงเรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การระดมทรัพยากรและสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการบริหารโรงเรียน และการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานด้านวิซาการของโรงเรียน อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มงานและกิจกรรมที่เน้นให้บุคลากรภายในโรงเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ งานการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และ การนิเทศการศึกษา และ (2) แนวทางการพัฒนางานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนที่สำคัญคือ (2.1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรพัฒนาหลักสูตรที่เน้นให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะให้มากขึ้น (2.2) งานการจัดการเรียนการสอน ควรกำหนดนโยบายและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกให้มากขึ้น (2.3) งานนิเทศการศึกษา ควรมีการสรุปและประเมินผลการนิเทศทั้งในภาพรวมและรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ และใช้ผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาครูให้เป็นรูปธรรม และ (2.4) งานวัดผลประเมินผล ควรปรับให้มีการวัดผลประเมินตามสภาพจริงให้มากขึ้นและควรพัฒนาให้มีเครื่องมือในการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยเน้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกงาน |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2590 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License