กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2597
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยในการตัดสินใจขายผลผลิตกล้วยหอมทองของสมาชิกให้กับสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting members' decisions to sell Hom Thong Bananas to Ban Nasan Agricultural Cooperative Limited in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธิดารัตน์ คุ้มภัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กล้วย--การขาย
การตัดสินใจ
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์ (2) ปัจจัยในการตัดสินใจขายผลผลิตกล้วยหอมทองของสมาชิกให้กับสหกรณ์ (3) ปัญหา และข้อเสนอแนะ ในการขายผลผลิตกล้วยหอมทองของสมาชิกให้กับสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ศึกษาคือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร จำกัด ที่ขายผลผลิตกล้วยหอมทอง ให้กับสหกรณ์ โดยศึกษาจากสมาชิกสหกรณ์เฉพาะที่ปลูกกล้วยหอมทองทั้งหมด จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า (1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ช่วงอายุ 41 – 50 ปี การศึกษาระดับ อนุปริญญา/ปวส. จำนวนแรงงานในครอบครัวที่ช่วยกันทำการเกษตร 3 – 4 คน พื้นที่ปลูกกล้วยหอมทอง (เฉพาะที่เก็บผลผลิตได้) 11 – 15 ไร่ ระยะทางจากสวนกล้วยหอมทองถึงสหกรณ์ 11 – 15 กิโลเมตร รายได้ของ ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 11 – 15 ปี และตลาดที่สมาชิกขาย ผลผลิตกล้วยหอมทองเป็นประจำคือขายผลผลิตกล้วยหอมทองให้สหกรณ์ทั้งหมด และทุกรอบการเก็บผลผลิต (2) ปัจจัยในการตัดสินใจขายผลผลิตกล้วยหอมทองของสมาชิกให้กับสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร จำกัด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจำหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย (3) ปัญหาและอุปสรรคในการขายผลผลิตกล้วยหอมทอง ได้แก่ การตั้งราคารับ ซื้อที่ไม่เหมาะสม การรับซื้อกล้วยหอมทองไม่เป็นไปตามคุณภาพ และข้อเสนอแนะใน การขายผลผลิตกล้วย หอมทอง ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่สมาชิก การให้ความรู้ด้านวิชาการแก่สมาชิก และการรับซื้อ ผลผลิตกล้วยหอมทองที่ผลิตได้ทั้งหมด
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2597
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146262.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons