กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2604
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาความรู้ความสามารถด้านวิชาการของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตอันดามัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of teachers' academic competencies in secondary schools in Andaman Consortium under the Secondary Educational Service Area Office Songkhla Satun |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรรณพ จีนะวัฒน์ วิชัย บัวเนี่ยว, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน ครู--การพัฒนาบุคลากร โรงเรียนมัธยมศึกษา การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปังจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตอันดามัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางค้านวิชาการของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตอันดามัน และ (3) เสนอแนวทางในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตอันดามัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพปัจุจุบันในการพัฒนาความรู้ความสามารถทำงานวิชาการของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีระดับความรู้ความสามารถปัจจุบันสูงที่สุดคือ ด้านการพัฒนาและบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการบริหารการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และลำดับสุดท้ายคือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการของครู ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับความรู้ความสามารถที่พึงประสงค์สูงที่สุดคือ ด้านการพัฒนาและบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาซึ่งเท่ากับ ด้านการบริหารการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และลำดับสุดท้าย คือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการของครู ด้านที่มีลำดับของความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการนิเทศการศึกษา ค้านการบริหารการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการวัดประเมินผลทางการศึกษา และด้านการพัฒนาและบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา ตามลำดับและ (3) แนวทางในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการของครู ได้แก่ (3.1) ครูควรได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา และผู้บริหารควรสร้างความตระหนักให้ครูเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา (3.2) ครูควร ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา จากผู้บริหารศึกษานิเทศก์ และเพื่อนครูแบบกัลยาณมิตร (3.3) ครูควรได้รับการส่งเสริมให้จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน (3.4) ครูควร ให้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือวัดประเมินผลในรูปแบบปกติ และรูปแบบออนไลน์ และ (3.5) ครูควรได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สามารถบูรณาการและเชื่อมโยงฐานสมรรถนะได้ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2604 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License