กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2605
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การตลาดของสหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด จังหวัดอ่างทอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing strategy of Angthong Agricultural Feeding Cooperative Ltd, Angthong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัญญา หิรัญรัศมี
ธีรพงศ์ ประสพเกียรติโภคา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดของสหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด จังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัดว์ อ่างทอง จำกัด (2) เพื่อรักษากลยุทธ์การตลาดของสหกรณ์เฉพาะธุรกิจจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช มาจำหน่าย และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการนำกลยุทธ์การตลาดของสหกรณ์ เฉพาะธุรกิจจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชมาจำหน่ายไปสู่การปฎิบัติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด เครึ่องมือที่ใช้ไนการวิจัย คือ กลยุทธ์การตลาด (4 Ps) ประกอบตัวย ผลิตกัณฑ์หรือบริการ ราคา สถานที่ และการส่งเสริมการตลาด ข้อมูลที่ใชัได้แก่ รายงานประจำปีของสหกรณ์ แผนกลยุทธ์ของ สหกรณ์ และระเบียบข้อบังคับสหกรณ์ เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงและค้าสัตว์อ่างทอง จำกัด มีการดำเนิน กลยุทธ์การตลาดโดยเน้นกลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย สหกรณ์ตั้งอยู่ในทำเลที่ตั้งเหมาะสม กลางเมึองอ่างทอง มีที่จอดรถ ขนถ่ายสินค้าได้สะดวก เปิดให้บริการทุกวันไม่มีวันหยุด รับสั่งจอง สินค้าทางโทรศัพท์และจัดส่งถึงบัาน มีจุดกระจายสินค้าอีก 2 แห่งใน 2 อำเภอ และใชักลยุทธ์ราคา ตั้งราคาขายเท่ากับหรือต่ำกว่าคู่แข่งขัน ให้สินเชื่อเพื่อการผลิต (ทำนา) 4 เดือน สำหรับกลยุทธ์ ส่งเสริมการขาย มีการโฆษณา สาธิต และให้ความรู้เกึ่ยวกับสินค้าอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ส่วนกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์สินค้าทุกชนิดที่จัดจำหน่ายต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากทางราชการ ด้านปัญหา พบว่า ในบางช่วงสหกรณ์ยังไม่สามารถจัดหาสินค้ามาจำหน่ายให้เพียงพอต่อความต้องการของ สมาชิก เนื่องธุรกิจเติบโตขึ้นมากทำให้สหกรณ์หมุนเงินไม่ทัน จึงควรจัดหาเงินทุนเพิ่มสำหรับ ขยายธุรกิจ ก่อสร้าง/ขยายโกดังเก็บสินค้า เชื่อมโยงธุรกิจกับสหกรณ์อื่นในการร่วมซื้อสินค้าเพื่อ เพื่มอำนาจต่อรองราคา เพื่อสนองความต้องการด้านสินค้าแก่สมาชิกให้ประสบผลสำเร็จต่อไป
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2605
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
129477.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons