Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/260
Title: | การจัดการความรู้ด้านการดูแลและรักษาสุขภาพของหมอพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Knowledge management in health care by traditional healers in Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | น้ำทิพย์ วิภาวิน สุฑารัตน์ บุญมี, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นฤมล รื่นไวย์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การบริหารองค์ความรู้--ไทย--นครศรีธรรมราช |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการจัดการความรู้ด้านการดูแล และรักษาสุขภาพของหมอพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) กระบวนการจัดการความรู้ด้านการดูแลและรักษาสุขภาพของหมอพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (3) ปัญหาการจัดการความรู้ด้านการดูแลและรักษาสุขภาพของหมอพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นหมอพื้นบ้านที่ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 มาตรา 33 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จํานวน 10 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลจากการสังเกตอยางมีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการจัดการความรู้ด้านการดูแลและรักษาสุขภาพของหมอพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะการจัดเก็บความรู้ที่ใช้ในการรักษาโรคจากตําราที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษและไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่อยูในความทรงจําของตนเอง ส่วนใหญ่มีความชํานาญในการรักษาโรคกระดูก การบีบนวดรักษาโดยการใช้สมุนไพร (2) กระบวนการจัดการความรู้ด้านการดูแลและรักษาสุขภาพของหมอพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มจากการบ่งชี้ความรู้จากประสบการณ์การรักษา มีการบันทึก ประวัติผู้ป่วยที่มารับการรักษาเพื่อติดตามผล มีการถ่ายทอดความรู้ในครอบครัวและเป็นวิทยากรในการเผยแพร่ความรู้ในการรักษาโรคและการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหมอพื้นบ้าน (3) ปัญหาการจัดการความรู้ด้านการดูแลและรักษาสุขภาพของหมอพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ การไม่มีเวลามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขาดงบประมาณสนับสนุนและสื่อการสอนเพื่อถ่ายทอดความรู้ไม่เพียงพอ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/260 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
152063.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License