กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/261
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากรอบสมรรถนะด้านการวิจัยของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of academic librarians' research competency framework
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทิมา เขียวแก้ว
กาญจนา จันทร์สิงห์, 2519
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
บรรณารักษศาสตร์--วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบสมรรถนะด้านการวิจัยของบรรณารักษ์ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์และการส่งแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูล กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัย จำนวน 20 คน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย ผู้อำนวยการห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อาจารย์ผู้สอน บรรณารักษ์ และนักวิจัย จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะหลักด้านการวิจัยของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มีทั้งหมด 3 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ได้แก่ ด้านการจัดหาและการบริการงานวิจัย (X =3.94) ด้านการใช้ผลการวิจัย (X =3.84) และด้านการดำเนินการวิจัย (X = 3.80) โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน แต่ละด้านมีรายการสมรรถนะย่อยรวมทั้งหมด จำนวน 31 รายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดมีจำนวน 10 รายการ โดยอยู่ในด้านการจัดหาและการบริการงานวิจัย จำนวน 9 รายการ และด้านการดำเนินการวิจัย จำนวน 1 รายการ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยแต่ละรายการ ได้แก่ การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าแก่นักวิจัย (X = 4.77) การเลือกทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวิจัย (X = 4.72) การบริการสืบค้นงานวิจัยทั้งรูปแบบสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ (X = 4.65) การบริการแนะนำการเขียนอ้างอิงในงานวิจัย (X = 4.63) การจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศให้เอื้อต่อการเข้าถึงและการใช้ของนักวิจัย และการบริการให้คำปรึกษาและแนะนำ แหล่งข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิจัย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (X = 4.60) การบริการวิจัยผ่านสื่อทันสมัยตามความต้องการของนักวิจัย (X = 4.58) การออกแบบการวิจัย และการออกแบบการบริการวิจัยที่เหมาะสม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (X = 4.56) และการบริการแนะนำเรื่องลิขสิทธิ์ และจรรยาบรรณนักวิจัย (X = 4.53)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/261
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152064.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons