กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2620
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ศึกษากรณีพื้นที่ชุมชนบ้างกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems related to the Community Forest Act B.E. 2562 enforcement: a case study of the Baan Klang Community, M. 6, T. Bang Toei, A. Muang, Phang Nga |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีรเดช มโนลีหกุล เกศกนก ทุณพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | ป่าชุมชน--ไทย ป่าชุมชน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การถือครองที่ดิน--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ศึกษากรณีพื้นที่ชุมชนบ้านกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ของการบริหารจัดการป่าชุมชนและหลักกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการป่าชุมชนในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการบริหารจัดการป่าชุมชนในประเทศไทย (3) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาทางกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายการบริหารจัดการป่าชุมชนในประเทศไทย ประเทศจีน ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอินเดีย และ (4) เพื่อสรุปและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ให้ชุมชนได้ร่วมกับรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการค้นคว้าและรวบรวมหนังสือ ตำราเอกสาร พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 บทความทางวิชาการที่เกี่ยวกับป่าชุมชน ทั้งในส่วนปัญหาทางกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายการบริหารจัดการป่าชุมชนในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอินเดีย ผลการศึกษาพบว่า ป่าชุมชนบ้านกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ได้ก่อตั้งขึ้นตามโครงการป่าชุมชนตามแนวทางกรมป่าไม้ เป็นเพียงการรวมกลุ่มของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งต่างจากการบริหารจัดการป่าชุมชนของประเทศจีน ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอินเดีย โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมลักษณะของการเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ผ่านทางระบบกระจายอำนาจ ซึ่งกำหนดรูปแบบการทำงานร่วมกันด้านป่าไม้ เป็นพระราชบัญญัติหรือนโยบาย แตกต่างไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ ลักษณะการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ของประชาชน และลักษณะทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ได้มุ่งหมายให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมปลูกต้นไม้และรักษาต้นไม้ โดยรัฐอาจกำหนดกฎระเบียบสาหรับการควบคุมการจัดการป่าชุมชน ดังนั้นป่าชุมชนบ้านกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา จึงควรมีการยื่นคำขอจัดตั้งป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งขอความยินยอมจากกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งวิธีนี้ทำให้มีกฎหมายเฉพาะรองรับมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติและบทลงโทษที่ชัดเจน มีการบริหารจัดการรูปแบบคณะกรรมการ ที่สำคัญคือคณะกรรมการจัดการป่าชุมชนมีหน้าที่ร่วมกับสมาชิกชุมชนจัดการป่าชุมชนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของป่าชุมชนและแผนการจัดการป่าชุมชนที่ได้รับอนุมัติ อันเป็นการขจัดปัญหาการเข้ามามีส่วนร่วมของสมาชิกป่าชุมชน สอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของประชาชน ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีความเป็นอยู่ของประชาชน ส่งผลให้ป่าชุมชุมชนสามารถดำเนินต่อไปได้ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2620 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
166849.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License