กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2623
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานในเครือสหยูเนี่ยนเขตบางปู จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis on the operation and financial statement of Union Bangpoo Saving Cooperatives Limited Samutprakan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัญญา หิรัญรัศมี สมมาตร เหมริด, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานในเครือสหยูเนี่ยนเขตบางปู--การบริหาร สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานในเครือสหยูเนี่ยนเขตบางปู--การเงิน การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์--ไทย--สมุทรปราการ--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน ในเครือสหยูเน่ียนเขตบางปู จำกัด จังหวัด สมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานในเครือสหยูเน่ียนเขตบางปู จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ (2) ศึกษาการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานในเครือสหยูเน่ียนเขตบางปู จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานในเครือสหยูเน่ียนเขตบางปู จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิได้มาจาก รายงานกิจการประจำปีของสหกรณ์ รายงานของผู้สอบบัญชีในปืบัญชี 2548-2550 แผนกลยุทธ์ ระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ เอกสารเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของสหกรณ์ เอกสารทางวิชาการ แนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้เทคนิค Balanced Scorecard วิเคราะห์เพียง 2 มุมมอง คือมุมมองด้านการเงิน และมุมมองต้านกระบวนการภายในเนื่องจากมีระยะเวลาจำกัดในการวิจัย ผลการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ผลดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานในเครือสหยูเน่ียนเขตบางปู จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า 1) ด้านการเงิน สหกรณ์มีโครงสร้างของทุนดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากทุน ของสหกรณ์เอง ถือว่าเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแกร่ง มีเงินทุนเพียงพอในการให้บริการกับสมาชิกอย่างทั่วถึง สหกรณ์ได้นำเงินทุนที่เหลือจากการทำธุรกิจไปลงทุน ทั้งในระยะสันและระยะยาวที่มีความมั่นคงและมีความเสี่ยงน้อย สหกรณ์ยังใช้เ วทีในการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจโดยนำเงินไปฝากกับสหกรณ์อื่น ซึ่งได้รับผลตอบแทนสูงกว่า นำไปฝากกับธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้นได้ดี สหกรณ์มีความน่าเชื่อถือสำหรับเจ้าหนี้มีวิธีการจัดเก็บเงินจากลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีอัตรากำไรสุทธิสูงกว่าเกณฑ์อัตราส่วนมาตรฐานของกลุ่ม ซึ่ง แสดงว่าสหกรณ์มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ด้านกระบวนการภายใน สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ องค์การมีการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นทิศทางในการดำเนิน งาน และมีรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม ยังไม่มีค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กร มีเพียงแผนงาน เป้าหมายองค์การ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกันเท่านั้น หากสหกรณ์มี Shared Value หรือคุณค่าร่วมกันของสมาชิก ก็จะทำให้สหกรณ์มีศักยภาพเป็นพลังที่จ ะขับเคลื่อนสหกรณ์ไปสู่เป้าหมายไต้อย่างมีประสิท ธิภาพ โดยคนในสหกรณ์ทุกฝ่าย นับตั้งแต่สมาชิก เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการดำเนินการ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2623 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext-112788.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License