กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/262
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายเชิงป้องกันในการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีความรับผิดในผลิตภัณฑ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Preventive measures for consumer protection in product liability
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันชัย ไพบูลย์อภิบาล, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ และมาตรการทางกฎหมายเชิงป้องกันในการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย เพื่อ เปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเชิงป้องกันในการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับในสภาพสังคมในปัจจุบัน งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งผู้วิจัย ทําการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลหลักการ และหลักเกณฑ์จากบทบัญญัติกฎหมายไทยและต่างประเทศ หนังสือ บทความ วารสารวิทยานิพนธ์ รวมทั้งขัอมูลเอกสารทางกฎหมายอื่่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองผู้บริโภค และจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สํานกงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)และสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ ผลการศึกษาพบว่า เนื่องจากในปัจจุบันที่ความเจริญกาวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเจริญขึ้นมาก ทําให้การผลิตสินค้าของผู้ประกอบการมีการใช้เครื่องมือและเเครื่องจักรที่ทันสมัย และมีกระบวนการผลิตที่สลับซับซ้อน การที่ผู้บริโภคจะตรวจสอบพบว่าสินค้าเหล่านั้นชำรุดบกพร่องนั้นเป็นเรื่องที่กระทำได้ยากเพราะขั้นตอนการผลิตสินค้าที่กว่าจะถึงขั้นตอนการจัดจําหน่าย และส่งถึงมือผู้บริโภคมีมากมายหลายขั้นตอนและสลับซับซัอนทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้ว่าสินค้านั้นเกิดความไม่ปลอดภัยในขั้นตอนใด อีกทั้งกฎหมายต่างๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นล้วนแต่เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภค ในกรณีที่ได้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้บริโภคขึ้นแล้ว แต่ยังไม่มีกฎหมายใดที่จะสามารถป้องกันเหตุ ล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด ดังนั้นควรที่ ต้องมีมาตรการทางกฎหมายเชิงป้องกันในการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อมาควบคุมการผลิตสินค้าและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยอันเกิดจากการใช้สินค้านั้น ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่โดยเสนอให้นําระบบการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้ผลิตภณฑั มาใช้ ซึ่งประยกต์มาจากหลักการของเสาหลักแห่งความก้าวหน้า (Pillars of Progress) ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ในการคุ้มครองผู้บริโภคได้โดยมีหลักการที่สําคญ คือให้ภาครัฐเป็นผู้นําในการแก้ไขปัญหาโดยออกมาตรการทางกฎหมาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุ่นในการสร้างความร่วมมือกัน และเพื่อสร้างสมดุลกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของภาครัฐของผู้ประกอบการ ของผู้บริโภคและขององค์การอิสระต่างๆ เพื่อที่จะร่วมมือกันในการแก้ปัญหา และเพื่อหาแนวทางป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากการใช้ผลิตภณฑ์ เพื่อให้เกิดการแก้ไข้ปัญหาได้อย่างยั้งยืน ทั้งนี้ก็ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองและความปลอดภัยอย่างสูงสุด และยังสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/262
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib138365.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons