Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/262
Title: | มาตรการทางกฎหมายเชิงป้องกันในการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีความรับผิดในผลิตภัณฑ์ |
Other Titles: | Preventive measures for consumer protection in product liability |
Authors: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล วันชัย ไพบูลย์อภิบาล, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สิริพันธ์ พลรบ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์และมาตรการทางกฎหมายเชิงป้องกันในการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยเพื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมยโรปุประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นและเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเชิงป้องกันในการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับในสภาพสังคมในปัจจุบันงานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งผู้วิจัยทำการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลหลักการและหลักเกณฑ์จากบทบัญญัติกฎหมายไทยและต่างประเทศ หนังสือบทความวารสารวิทยานิพนธ์รวมทั้งขัอมูลเอกสารทางกฎหมายอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคและจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อนามาศึกษาวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบผลการศึกษาพบว่าเนื่องจากในปัจจุบันที่ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญขึ้นมาก ทำให้การผลิตสินค้าของผู้ประกอบการมีการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรที่ทันสมัย และมีกระบวนการผลิตที่สลับซับซ้อน การที่ผู้บริโภคจะตรวจสอบพบว่าสินค้าเหล่านั้นชำรุดบกพร่องนั้น เป็นเรื่องที่กระทำได้ยากเพราะขั้นตอนการผลิตสินค้าที่กว่าจะถึงขั้นตอนการจัดจำหน่ายและส่งถึงมือผู้บริโภคมีมากมายหลายขั้นตอนและสลับซับซัอนทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้ว่าสิ่นค้านั้นเกิดความไม่ปลอดภยในขั้นตอนใดอีกทั้งกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นล้วนแต่เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาแก้ไข้ปัญหาให้แก่ผู้บริโภคในกรณีที่ได้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้บริโภคขึ้นแล้วแต่ยังไม่มีกฎหมายใดที่จะสามารถป้องกันเหตุล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด ดังนั้นควรที่ต้องมีมาตรการทางกฎหมายเชิงป้องกันในการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อมาควบคุมการผลิตสินค้าและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยอันเกิดจากการใช้สินค้านั้น ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการแกไข้ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเป็นแนวคิดใหม่โดยเสนอให้นำระบบการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์มาใช้ซึ่งประยุกต์มาจากหลักการของเสาหลักแห่งความก้าวหน้า (Pillars of Progress) ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ในการคุ้มครองผู้บริโภคไดโดยมีหลักการที่สำคัญคือให้ภาครัฐเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาโดยออกมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างความร่วมมือกันและเพื่อสร้างสมดุลกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของภาครัฐของผู้ประกอบการ ของผู้บริโภคและขององค์การอิสระต่าง ๆ เพื่อที่จะร่วมมือกันในการแก้ปัญหาและเพื่อหาแนวทางป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดการแก้ไข ปัญหาได้อย่างยั่งยืนทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองและความปลอดภัยอย่างสูงสุดและยังสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/262 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib138365.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License