กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/264
ชื่อเรื่อง: | วิเคราะห์การเมืองไทยผ่านวรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้าในช่วง พ.ศ. 2545-2551 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of thai politics through the Pan Vanfa aware for political literature between B.E. 2545-2551 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สรายุทธ ยหะกร เสาวรี เอี่ยมละออ, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จิตรา วีรบุรีนนท์ ชมัยภร แสงกระจ่าง (บางคมบาง) |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ วรรณกรรมการเมือง--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางการเมืองของไทยผ่านเนื้อหาสาระแนวคิดในวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นรางวัลพานแว่นฟ้าในช่วง พ.ศ. 2545-2551 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ หนังสือวรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ในช่วง พ.ศ. 2545-2551 จำนวน 7 เล่ม ได้แก่ คืนเดือนเพ็ญ, พานแว่นฟ้า, ตานะฮ์อูมี แผนดิน มาตุภูมิ, วาวแสงแห่งศรัทธา, การจากไปของนกเค้า, เราติดอยูในแนวรบเสียแล้ว ...แม่ มัน และ สะพาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แผนวิเคราะห์ (Tally sheet) โดยแบ่งหน่วยการวิเคราะห์ออกเป็นมุมมองการเมือง ด้านต่าง ๆ รวม 10 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียกร้องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ด้านการเรียกร้องรัฐธรรมนูญในแบบอุดมคติ ด้านการต่อต้านการคอรัปชันของนักการเมือง ด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ด้านการเรียกร้องความเป็นธรรม ด้านการถูกกดขี่จากนักการเมือง ด้านความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน ด้านปัญหาความขัดแย้งสามจังหวัดชายแดนใต้ ด้านประวัติศาสตร์เหตุการณ์ตุลาคมและพฤษภาทมิฬ และด้านอื่น ๆ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการต่อต้านการคอรัปชันของนักการเมืองมีมากที่สุดโดยพบว่ามีเรื่องสั้น จำนวน 21 เรื่อง บทกวีจำนวน 8 เรื่อง ซึ่งเกือบทุกเรื่องจะนำเสนอภาพการทุจริตการเลือกตั้งอย่างตรงไปตรงมา รองลงมาได้แก่ด้านการเรียกร้องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มีเรื่องสั้นจำนวน 16 เรื่อง และบทกวีจำนวน 24 บท ส่วนใหญ่สะท้อนถึงปัญหาการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่ผู้เขียนพยายามสร้างตัวละครให้มีมุมมองในด้านบวกต่อระบอบการปกครองดังกล่าว ด้านการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ มีเรื่องสั้นจำนวน 14 เรื่อง บทกวีจำนวน 3 เรื่อง ในภาพรวมต้องการให้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยและงดงามเหมือนในอุดมคติ ด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยพบว่ามีเรื่องสั้น จำนวน 4 เรื่อง บทกวีจำนวน 1 เรื่อง โดยเสนอให้เห็นภาพการไม่ยอมรับสิทธิการแสดงความคิดเห็นของประชาชน มีการใช้อำนาจมืดเข้ามาจัดการ ด้านการเรียกร้อง ความเป็นธรรม ด้านการถูกกดขี่จากนักการเมือง/ข้าราชการ ส่วนใหญ่นำเสนอในภาพของตัวละครชนชั้นกรรมาชีพที่ถูกนักการเมืองใช้อำนาจหน้าที่กดขี่ข่มเหง ด้านความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันส่วนใหญ่สะท้อนปัญหาการแบ่งฝ่าย แบ่งสี ซึ่งพบมากในงานเขียนช่วงปี พ.ศ. 2550-2551 ด้านปัญหาความขัดแย้งสามจังหวัด ชายแดนใต้และด้านประวัติศาสตร์เหตุการณ์ตุลาคมและพฤษภาทมิฬพบว่ามีเนื้อหาสะท้อนเหตุการณ์สะเทือนใจในปัญหาดังกล่าวโดยผ่านเรื่องเล่าธรรมดาในกิจวัตรประจำวันของตัวละคร ด้านอื่น ๆ ได้แก่ การเสนอภาพ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก สะท้อนภาพการถูกเอารัดเอาเปรียบของชาวนา การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากการพัฒนาทางวัตถุ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/264 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
152070.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License