Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2655
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนิตยา อุตมะ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-09T08:42:06Z-
dc.date.available2023-01-09T08:42:06Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2655-
dc.description.abstractการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินงานของสหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัด และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์โคนมนคร-ปฐม จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือสหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัด โดยศึกษาจากประธานกรรรมการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ ประสิทธิภาพด้านการเงิน (financial analysis) และการวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้มแบบปีฐานเคลื่อนที่ (progressive year horizontal analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1) สหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัด เป็นสหกรณ์โคนมขนาดใหญ่มาก เริ่มดำเนินงาน ตั้งแต่ ปี 2541 เป็นต้นมา ปัจจุบัน พ.ศ.2554 มีสมาชิก 315 ราย รับ น้ำนมดิบวันละ 22 ตัน มีปริมาณธุรกิจปี ละ 328 ล้าน บาท สหกรณ์มีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องส่งผลให้สหกรณ์ได้รับคัดเลือกเป็น สหกรณ์ดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2554 ประเภทโคนม โดยได้รับรางวัลพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว 2) ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ของสหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัด ประกอบด้วย (1) ประสิทธิภาพด้านการเงิน สหกรณ์มีสภาพคล่องในการเปลี่ยน สินทรัพย์ให้อยู่ในรูปเงินสดเพื่อชำระหนี้ได้สูง และมีศักยภาพในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้พิจารณาให้สินเชื่อหรือ ผู้สนับสนุนเงินทุนแก่สหกรณ์สหกรณ์สามารถใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดรายได้อยางมีประสิทธิภาพ อัตราแนวโน้มของ ทุนของสหกรณ์นอกจากแสดงถึงฐานะทางการเงินที่มั่นคงยังเป็นการสร้างความมั่นใจและศรัทธาให้แก่ สมาชิกในการมี ส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ การควบคุมให้ต้นทุนขายลดลงและการควบคุมค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจและค่าใช้จ่าย ดำเนินงาน ทำให้สหกรณ์มีผลกำไรต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 5 ปี (2) ประสิทธิภาพด้านการบริหาร สหกรณ์กำหนด นโยบายการดำเนินงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน และวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงานไว้อย่างชัดเจนมี เครื่องใช้อุปกรณ์สำนักงานที่เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณงาน รวมทั้งส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนาเพื่อให้ได้รับ ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน และ (3) ประสิทธิภาพด้านทรัพยากรการบริหาร สหกรณ์มีการวางแผนและกำหนด นโยบายในการใช้ทรัพยากร คน เงิน และวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของสหกรณ์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญสมาชิกสหกรณ์มีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ทุกคนหรือร้อยเปอร์เซ็นต์จะเห็น ได้ว่าสหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัดสามารถบริหารจัดการองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจาก สมาชิกสหกรณ์ทุกคน ข้อเสนอแนะ เห็นควรศึกษาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มช่องทางการตลาดให้มี ความหลากหลายมากขึ้น โดยแปรรูปเป็นนมกล่อง ยู เอช ที และแปรรูปเป็นนมพาสเจอร์ไรส์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อ จำหน่ายเชิงพาณิชย์ ส่งผลถึงความเป็นอยู่ของสมาชิกสหกรณ์ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโคนม--ไทย--นครปฐมth_TH
dc.titleประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัดth_TH
dc.title.alternativeEfficiency of the operation of Nakhon Pathom Dairy Cooperative Limitedth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were (1) to study the operation of Nakhon Pathom Dairy Cooperative Limited (NPDC) and (2) to study the efficiency of the operation of NPDC. Population used in this study was NPDC. The study was conducted with the chairman of committee and involved cooperative’s officers. Instrument used in this study were structured interview, financial analysis, and progressive year horizontal analysis. Findings revealed that: 1) NPDC was a very large scale of milk producer that had started operation since 1998. At the present, in 2011, there were 315 members with 22 tons of raw milk per day. Business volume was 328 million Baht per year. The cooperative had a continuous growth that resulted the cooperative to be awarded as 2011 National Best Cooperative (Milk) by His Majesty the King. 2) The efficiency of the operation of NPDC including; (1) financial efficiency: the cooperative had high liquidity in changing assets into cash for debt repayment and efficient potential in creating confidence to a person who considered to provide credits or a person who supported fund to the cooperative, in addition, the cooperative could utilize its assets to create incomes effectively. Beside, it represented stable financial status. Capital tendency of the cooperative also created confidence and trust among members in being part of business dealing with the cooperative. To reduce the selling cost and to control the business expenses and operating cost made the cooperative had profits for 5 consecutive years. (2) Management efficiency: the cooperative set operating policy, officer’s responsibility, and objective for each agency clearly and office equipment that appropriate to the workload was used, as well as sending officers to participate trainings and seminars in order to obtain knowledge and skill for work operation. And (3) Resource management efficiency: the cooperative planned and set policy in using its resources, personnel, money, and equipment, for optimum efficiency for cooperative’s operation, and the important thing was that all of cooperative members or 100% of cooperative members were involved with doing business with the cooperative. It could be seen that NPDC was able to manage the organization efficiently and was accepted from every members of the cooperative. Suggestions: product development guideline should be studied and marketing channels should be extended by processing the milk into UHT milk and pasteurized milk, and other products for commercial selling which would lead to well living of cooperative members as they would have increased income and would be able to settle the debt repayment on timeen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129174.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons