Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2660
Title: | การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ปีเพาะปลูก 2549/50 |
Other Titles: | Analysis of the efficiency of Hom Mali Rice production using green manure in Phai Sub-district, Rasisalai District, Sisaket Province crop year 2006/2007 |
Authors: | สมบัติ พันธวิศิษฎ์ ศิริพร เผือกยิ้ม, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี เกษตรกร--ไทย--ศรีสะเกษ ข้าว--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--ศรีสะเกษ ข้าว--การผลิต การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ ข้าว--ปุ๋ย |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาต่าง ๆ ของ เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติตามรอยพระบาทครองราชย์ 60 ปี พื้นฟูปฐพีไทยตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคและ ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของการใช้ปัจจัยการผลิตของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิโดยวิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยเคมีอย่างเดียวการวิจัยได้รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร จำนวน 100 ครัวเรือนแบ่งเป็นเกษตรกรที่ทำการผลิตข้าวหอมมะลิ โดยการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ่ยเคมี จำนวน 50 ราย และ เกษตรกรที่ทำการผลิตข้าวหอมมะลิ โดยการใช้ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ราย และคำนวณหาสมการการผลิตโดยรูปแบบการผลิตเป็นแบบจำลองการผลิตแบบ Cobb - Douglas production function ผลการวิเคราะห์การผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและการผลิตข้าว หอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยเคมี พบว่า (1) หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา มีขนาดครอบครัวเฉลี่ยประมาณ 4-6 คน การถือครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นของตนเอง ปัญหาในการผลิตข้าวหอมมะลิที่พบมากคือ ปัญหาเรื่องน้ำ ปัญหารองลงมา คือปัญหาเรื่องทุน (2) จากการวัดประสิทธิภาพทางเทคนิคและประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ ในการผลิตข้าว หอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและการผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยเคมี พบว่า ปัจจัยแรงงานคน ปัจจัยปริมาณปุ๋ยเคมีและปัจจัยปริมาณเมล็ดพันธุพืชปุ๋ยสด สามารถอธิบายความเปลี่ยนแปลงของผลผลิตข้าวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลรวมความยืดหยุ่นเท่ากับ1.125 และ 1.031 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระยะผลตอบแทนต่อขนาดเพิ่มขึ้น และเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดจากการผลิตข้าวหอมมะลิสามารถใช้ปริมาณแรงงานคน ปริมาณปุ๋ยเคมีและปริมาณเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ยสดเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวได้อีก |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2660 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
113519.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License