Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2669
Title: การประมาณการฟังก์ชันการผลิตด้านการเดินรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 8
Other Titles: Estimation of production function on bus operation of Bangkok Mass Transit Authority : Bus Operation Zone 8
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข
ศุภโชค ถกลศรี, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 8--การบริหาร
รถประจำทาง
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตและผลผลิตของการให้บริการเดินรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 8 2) ประมาณการพังก์ชันการผลิตและความเหมาะสมของพังก์ชันการผลิตด้านการเดินรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 8 3) ศึกษาความยืดหยุ่นของผลผลิตด้านการเดินรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 8 วิธีศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตและผลผลิตของการให้บริการด้านการเดินรถโดยสารประจำทาง โดยใช้วิธีผลผลิตเฉลี่ยเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ ศึกษาความเหมาะสมในการประมาณการ พังก์ชันการผลิตด้านการเดินรถโดยสารประจำทางของพังก์ชันการผลิตแบบเส้นตรงและพังก์ชันการผลิตแบบคอบบ์-ดักลาส โดยการเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์แห่งการกำหนด เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ และศึกษาความยืดหยุ่นของผลผลิตด้านการเดินรถโดยสารประจำทาง โดยใช้สมการความยืดหยุ่นของผลผลิตเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลผลิตเฉลี่ยซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตและผลผลิตของการให้บริการเดินรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 8 กรณีรถธรรมดาทุกสายคือสาย 3 24 36 54 117 134ก. 156 และ 178 มีผลผลิตเฉลี่ยต่อปัจจัยแรงงานและปัจจัยทุนลดลง กรณีรถปรับอากาศ สาย 3 22 36 49 และ 73 มีผลผลิตเฉลี่ย ต่อปัจจัยแรงงานและปัจจัยทุนลดลง ส่วน สาย 204 มีผลผลิตเฉลี่ยต่อปัจจัยแรงงานและปัจจัยทุนเพิ่มขึ้น 2) การประมาณการพังก์ชันการผลิตและความเหมาะสมของพังก์ชันการผลิตด้านการเดินรถโดยสารประจำทางของเขตการเดินรถที่ 8 พบว่า กรณีรถโดยสารธรรมดาพังก์ชันการผลิตแบบเส้นตรงมีความเหมาะสมในการประมาณการมากกว่าพังก์ชันการผลิตแบบคอบบ์-คักลาส กรณีรถโดยสารปรับอากาศพังก์ชันการผลิตแบบคอบบ์-คักลาส มีความเหมาะสมในการ ประมาณการมากกว่าพังก์ชันการผลิตแบบเส้นตรง 3) ความยืดหยุ่นของผลผลิตของสายการเดินรถธรรมดาที่ 3 24 และ 36 มีค่าความยืดหยุ่น (0.4576) (0.0489) และ 0.2514 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่าการผลิตอยู่ในช่วงผลได้ต่อขนาดลดลงส่วนสาย 54 117 134ก 156 และ 178 มีค่าความยืดหยุ่น 2.3525 1.6405 20.664 2.5597 และ 3.3553 ตามลำดับ ค่าความยืดหยุ่นมากกว่า 1 แสดงว่าผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น สำหรับสายการเดินรถปรับ อากาศที่ 3 36 73 และ 204 ค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ (0.6887) 0.7901 0.6004 และ 0.2383 ตามลำดับ ค่าความยืหยุ่นน้อยกว่า 1 การผลิตอยู่ในช่วงผลได้ต่อขนาดลดลง ส่วนสาย 22 49 ค่าความยืดหยุ่น 1.4955 และ 1.0574 ค่าความยืดหยุ่นมากกว่า 1 การผลิตอยู่ในช่วงผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2669
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139685.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons