กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2673
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเข้าใจในเรื่องประกันชีวิตและความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม : กรณีศึกษาอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of life insurance understanding and its relationship with Socio-Economics factors : a case study of Nikompattana District in Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนี กังวานพรศิริ
สมบัติ วงศ์ชมภู
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ประกันชีวิต
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทดสอบสมมติฐานที่ว่าประชากรในอำเภอนิคม พัฒนา จังหวัดระยอง มีความรู้ความเข้าใจประกันชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 40 (2) ทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจในเรื่องประกันชีวิตของประชากรในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัด ระยอง กับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อปี สถานภาพ และการมีประกันชีวิต(3) เปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในเรื่องประกันชีวิตกับปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว การวิจัยในครั้งนี้ได้ศึกษากลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยองโดยแบ่งออกเป็น 4 ตำบล คือ ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลมาบข่า ตำบลพนานิคม ตำบลมะขามคู่ กลุ่มตัวอย่างมี จำนวน 104 ตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใช้โควต้า แล้วนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อทดสอบค่าสัดส่วนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประกันชีวิต และคำนวณค่าสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจ ประกันชีวิตกับตัวแปรต่างๆ โดยใช้ค่าสถิติไคสแควร์ และเปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ของปัจจัยดังกล่าวที่มีความสัมพันธ์กัน โดยใช้วิธีการของแครมเมอร์และเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ประชากรในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง น้อยกว่าร้อยละ 40 ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประกันชีวิต ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้ความเข้าใจประกันชีวิตกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ค่าสถิติไคสแควร์ พบว่าความรู้ความเข้าใจในเรื่องประกันชีวิตมีความสัมพันธ์กับเพศ อาชีพ และการมีประกันชีวิต ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และใช้วิธีการของแครมเมอร์และวิธีการของเพียร์สัน พบว่า ระดับความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจประกันชีวิตกับการมีประกันชีวิตสูงกว่าระดับ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจประกันชีวิตกับอาชีพ และเพศตามลำดับ ณ ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2673
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122411.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons