กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2686
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบการใช้ปอเทือง ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมี ในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน กลุ่มชุดดินที่ 36 จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparison of sun hemp, high quality organic fertilizer and chemical fertilizer for baby corn production in soilgroup no.36, Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศศิธร วิสัย, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด--ปุ๋ย
ปุ๋ย--การใช้ประโยชน์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
รายละเอียด: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน 2) เปรียบเทียบผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี และ 3) ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการที่มีการไถกลบปอเทืองร่วมกับการใส่ปุ๋ยโดยวิธีการต่างๆ (วิธีการที่ 4 5 6 7 8) มีปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพิ่มขึ้น มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) กับวิธีการที่ 1 2 และ 3 ซึ่งไม่มีการไถกลบปอเทืองร่วมด้วย 2) การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนในรุ่นที่ 1 พบว่า ความสูง น้ำหนักฝักสด และจำนวนฝักต่อต้นไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนน้ำหนักฝักทั้งเปลือก น้าหนักฝักปอกเปลือก และน้าหนักต้นแห้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยวิธีการไถกลบปอเทืองร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือก น้ำหนักฝักปอกเปลือก และ น้ำหนักต้นแห้งสูงสุดเท่ากับ 1,080 560 และ 1,120 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ และผลการวิจัยข้าวโพดฝักอ่อนรุ่นที่ 2 พบว่า ความสูง น้าหนักฝักทั้งเปลือก น้ำหนักฝักปอกเปลือก น้ำหนักต้นแห้ง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่น้ำหนักต้นสด และจำนวนฝักต่อไร่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยวิธีการไถกลบปอเทืองร่วมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงธาตุอาหาร ใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้น้ำหนักต้นสด และจำนวนฝักต่อไร่ สูงสุดเท่ากับ 2,300 กิโลกรัมต่อไร่ และ 12,400 ฝักต่อไร่ ตามลำดับ 3) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า การไถกลบปอเทืองร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด เท่ากับ 4,672.40 บาทต่อไร่ รองลงมาได้แก่ ไถกลบปอเทืองร่วมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงธาตุอาหาร N – P2O5 – K2O ใกล้เคียงปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เท่ากับ 3,730.28 บาทต่อไร่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2686
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146072.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons