กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/268
ชื่อเรื่อง: | การศึกษารูปแบบที่เป็นไปได้ในการปกครองตนเองของจังหวัดภูเก็ต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Possibility study on model of self-governance in Phuket |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุทธพร อิสรชัย พิทักษ์ เชาว์วัฒนาพร, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา. ธนศักดิ์ สายจำปา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์ การปกครองท้องถิ่น--ไทย--ภูเก็ต ภูเก็ต--การเมืองและการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของจังหวัดภูเก็ตที่มีความเป็นไปได้ต่อการปกครองตนเองของจังหวัดภูเก็ต (2) เสนอรูปแบบที่เป็นไปได้ในการปกครองตนเองของจังหวัดภูเก็ต งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แต่ละกลุ่มผู้นำของจังหวัดภูเก็ตที่มีตำแหน่ง มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สูง โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน ได้แก่ ตัวแทนจากกลุ่มอำนาจรัฐ กลุ่มทางธุรกิจ กลุ่มองค์กรภาคประชาชน และกลุ่มสถาบันการศึกษา ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลจากการศึกษาวิจัยมีดังต่อไปนี้ (1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของจังหวัดภูเก็ตที่มีความเป็นไปได้ต่อการปกครองตนเอง พบว่าจังหวัดภูเก็ตมีความพร้อมในการปกครองตนเอง โดยมีความพร้อมหลายด้านที่สำคัญคือ 1. ด้านเศรษฐกิจ จังหวัดมีรายได้จากการท่องเที่ยวสามารถเก็บภาษีในอัตราที่สูง สามารถนำมาบริหารจัดการตนเองได้ 2. ด้านการเมือง โดยเฉพาะการเมืองภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในทางการเมืองที่สูง 3. ด้านสังคม จังหวัดมีโครงสร้างทางสังคมที่ไม่ซับซ้อนและมีวัฒนธรรม ประเพณีที่มีเอกลักษณ์ที่สอดคล้องกับประชาธิปไตย (2) รูปแบบโครงสร้างที่เป็นไปได้ คือ รูปแบบการปกครองตนเองภูเก็ตอย่างยั่งยืนด้วยพลเมือง เป็นโครงสร้างที่ขึ้นโดยตรงกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ขึ้นกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบเดิม ซึ่งโครงสร้างใหม่จะมีการบริหารงานจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย 1. ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยมีวาระ 4 ปี 2. สภาจังหวัดภูเก็ตมาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 24 คน มีวาระ 4 ปี 3. สภาผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 10 คน มีวาระ 6 ปี |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/268 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161808.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License