กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2703
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทกับเงินเยนญี่ปุ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting of Bath-Yen exchange rate |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อภิญญา วนเศรษฐ สุชัญญา หยูคล้าย, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ปริวรรตเงินตรา การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการเงินระหว่างประเทศและอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทย 2) ศึกษาปัจจัยสำคัญในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินเยนญี่ปุ่น 3) วิเคราะห์ถึงดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศระหว่างเงินบาทกับเงินเยนวิธีการศึกษาใช้มูลอนุกรมเวลารายไตรมาส โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2543 –เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นเวลาระยะเวลา 44 ไตรมาส แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 วิธี คือ 1) การวิเคราะห์เชิงพรรณา ศึกษาถึงวิวัฒนาการของระบบการเงินระหว่างประเทศ และวิวัฒนาการของระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และ 2) การวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยนำข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจมาทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทและเงินเยนภายใต้แนวคิด Portfolio Balance Approach โดยวิธี Cointegration และการประมาณค่าแบบจำลองโดยใช้วิธี Error Correction Model จากผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของโลกเริ่มจากการใช้มาตรฐาน ทองคำในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ต่อมาประเทศต่างๆ มีพัฒนาการไปใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวและแบบลอยตัวแบบมี การจัดการ สำหรับประเทศไทยก็เริ่มจากการแบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ และปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ 2) ปัจจัยสำคัญในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินเยน ได้แก่ ปริมาณเงินโดยเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น การคาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ปริมาณ ความต้องการถือครองพันธบัตรในประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางเดียวกับอัตราแลกเปลี่ยนส่วนรายได้ที่แท้จริงของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยกับประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานตามแบบจำลองตามแนวคิดทางการเงิน Portfolio Balance Approach 3) ตัวแปรข้างต้นมีความสัมพันธ์ในเชิงดุลยภาพระยะยาว และมีกลไกการปรับตัวในระยะสั้นเมื่อมีการเบี่ยงเบนออกจากดุลยภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2703 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
125641.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License