Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2704
Title: | การศึกษาความโน้มเอียงในการบริโภคของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน |
Other Titles: | Study on the village fund members' propensity to consume |
Authors: | ศิริพร สัจจานันท์ สุคนธ์รัตน์ หินดง, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี บริโภคกรรม (เศรษฐศาสตร์) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง--สมาชิก การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปของผู้กู้ยืมเงินกองทุน หมู่บ้าน 2) ความโน้มเอียงในการบริโภคของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน 3) ตัวทวีที่ส่งผลต่อการเพิ่มรายได้การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาทั้งประชากร คือ สมาชิกองทุนหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านของบ้านโนนขาม ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่กู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 126 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผลศึกษาพบว่า 1) ลักษณะทั่วไปผู้กู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้าน ผู้กู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.7 เป็นเพศชาย ร้อยละ 33.3 ส่วนใหญ่มีอายุระหวา่ ง 51 - 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.50 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 74.6 วัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้าน ส่วนใหญ่นำเงินที่กู้ยืมไปลงทุนปลูกพืช 2) ค่าความโน้มเอียงในการบริโภคของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ผลการศึกษา ได้ค่าความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยสุดท้าย คือ 0.68 หมายความว่า เมื่อครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น 1 บาท การบริโภคจะเพิ่มขึ้น 0.68 บาท 3) ค่าตัวทวี ผลการศึกษา ได้ค่าตัวทวี คือ 1.47 หมายความว่า เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของรายจ่าย 1 บาท จะทำให้ผลผลิตหรือรายได้เพิ่มขึ้น 1.47 เท่า |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2704 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
145052.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License