กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2707
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cost-benefit analysis of rubber cultivation in Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมบัติ พันธวิศิษฎ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพรรณี ไชยเลิศ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ยางพารา -- การปลูก -- ต้นทุนและประสิทธิผล
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของ เกษตรกรเจ้าของสวนยางในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการ ปลูกยางพาราในพื้นที่จังหวัดพะเยา และ 3) วิเคราะห์ความอ่อนไหวของการผลิตยางพาราในเขตพื้นที่ จังหวัดพะเยา การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างประกอบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือใน การเก็บข้อมูลเกษตรกรเจ้าของสวนยางที่จำหน่ายผลผลิตแล้วจำนวน 181 ราย โดยการเลือกแบบเจาะจง และข้อมูลทุติยภูมิของสถาบันวิจัยยาง นำมาวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุน โดยใช้ หลักเกณฑ์การตัดสินใจในการลงทุน 3 ตัวชี้วัด คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน และอัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรที่ปลูกยางเป็นอาชีพหลักส่วนใหญ่เป็นเพศชายและมีระดับ การศึกษาชั้นประถมศึกษา เป็นเกษตรกรชาวสวนยางรายเล็ก มี พื้นที่ปลูกยาง 1-10 ไร่ และมีประสบการณ์ ในการปลูกมาแล้ว 11-15 ปี 2) ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการปลูกยางพาราระยะเวลา 20 ปี โดยแบ่งกลุ่มเกษตรตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม คือ สวนยางพาราขนาด 1-10 ไร่ ขนาด 11-20 ไร่ ขนาด 21-30 ไร่ และขนาด 31 ไร่ขึ้นไป พบว่ามีผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ณ อัตราคิดลดร้อยละเท่ากับ 94,185.97 95,686.16 97,198.29 และ 98,100.38 บาทต่อไร่ ตามลำดับ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน เท่ากับ 2.51 2.57 2.63 และ 2.67 ตามลำดับ และอัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน เท่ากับร้อยละ 14.69 14.31 14.37 และ 14.35 ตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวภายใต้เงื่อนไขการ เปลี่ยนแปลงด้านรายรับและ/หรือต้นทุน 3 กรณี คือ กรณีรายรับลดลงร้อยละ 10 กรณีต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อย ละ 10 และกรณีรายรับลดลงและต้นทุนเพิ่มขึ้นพร้อมกันร้อยละ 10 พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิยังมีค่าเป็น บวก อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่ามากกว่าหนึ่ง อัตราผลตอบแทนภายในการลงทุนมีค่าสูงกว่า อัตราดอกเบี้ยที่ีกำหนด การลงทุนผลิตยางพารามีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านรายได้ และค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับความเสียงต่ำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2707
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140171.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons