กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2735
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์แผนกลยุทธ์และฐานะทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรบางกรวย จำกัด จังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of strategic plan and financial statement of Bangkruay Cooperatives Ltd. Nonthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัญญา หิรัญรัศมี ประนอม หมีทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตรบางกรวย--การจัดการ สหกรณ์การเกษตรบางกรวย--การเงิน การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิเคราะห์แผนกลยุทธ์และฐานะทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรบางกรวยจำกัด จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตรบางกรวย จำกัด 2) เพื่อวิเคราะห์แผนกลยุทธ์และฐานะทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรบางกรวย จำกัด และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรบางกรวย จำกัด ข้อมูลที่ใช้วิจัยเป็นเอกสารรายงานกิจการประจำปีของสหกรณ์ปี 2546 - 2550 ผลการวิจัย พบว่า สหกรณ์การเกษตรบางกรวย จำกัด จังหวัดนนทบุรี ทุนดำเนินงานส่วนในญ่มาจากเงินรับฝากจากสมาซิก เงินกู้ยืมจากภายนอก และทุนเรือนหุ้น ตามลำดับ การใช้ไปของเงินทุน ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้น เงินฝากในสหกรณ์อื่น ลูกหนี้เงินกู้ระยะยาว เครื่องใช้สำนักงาน และสินทรัพย์ถาวร ตามลำดับ หากมองในระยะยาวถือว่าสหกรณ์การเกษตรบางกรวย จำกัด มีความมั่นคงในเรื่องแหล่งที่มาของทุน เพราะได้รับเงินรับฝากจากสมาชิก ซึ่งทำให้สหกรณ์มีสภาพคล่องในการบริหารงาน ด้านสินทรัพย์ พบว่า การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ไม่หมุนเวึยนอื่นเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันกับทรัพย์สินทั้งหมด จึงแสดงถึงความนั่นคงของสหกรณ์ ด้านหนี้สิน มีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้นตลอด 5 ปีเมื่อเทียบกับปี 2550 แสดงถึงศักยภาพในด้านการทำธุกิจภายในของสหกรณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้แนวโน้มในอนาคตของสหกรณ์แห่งนี้มีความมั่นคงทางการเงินค่อนข้างสูงด้านแผนกลยุทธ์ของสหกรณ์ ในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามแผนดังกล่าว ประสบผลสำเร็จมีกำไรเพิ่มขึ้น แต่ในบางส่วนก็เกิดปัญหา ซึ่งส่วนที่ไม่สำเร็จเท่าทีควร พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สำหรับการกำหนดจุดมุ่งหมายของสหกรณ์ในรูปแบบวิสัยทัศน์สามารถสรัางแรงจูงใจ นำไปเป็นแนวทางในการบริหารสหกรณ์ให้กัาวหน้าได้ แต่ยังมีคณะกรรมการดำเนินการที่ได้รับเลือกเข้ามาใหม่ยังขาดประสบการณ์ในการจัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์ของสหกรณ์ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการบริหารงาน ดังนั้น สหกรณ์จึงควรที่จะมี การจัดทำแผนกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับจะต้องให้คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ พร้อมแกนนำสมาชิกร่วมกันกำหนดยุทธ์ศาสตร์ให้เป็นหนึ่งเดียวขององค์การ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2735 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
113556.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License