กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2744
ชื่อเรื่อง: การประเมินการบริหารจัดการสหกรณด้านการควบคุมภายในของสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment cooperatives management on service cooperatives internal control of district agricultural cooperatives in Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิลาวัลย์ ศิลปศร, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสาวลักษณ์ มูลเมือง, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร--การจัดการ.--ไทย--พะเยา
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปและผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดพะเยา 2) คุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุมภายในของสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดพะเยา และ 3) เปรียบเทียบคุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดพะเยา ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้แทนสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดพะเยา จำนวน 6 สหกรณ์และรายงานทางการเงินของสหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบประเมินการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุมภายในของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 2) แบบเก็บข้อมูลทางการเงินเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าสัดส่วน และค่าเฉลี่ย ผลการศีกษา พบว่า 1) สหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดพะเยา ระยะเวลาดำเนินงาน 13-46 ปี จํานวนสมาชิก 672-4,807 คน คณะกรรมการ 9-11 คน เจ้าหน้าที่สหกรณ์ 7-26 คน ส่วนใหญ่มีทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้น ดำเนินธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลิตผล ธุรกิจการรับฝากเงิน และธุรกิจแปรรูป สหกรณ์มีผลการดำเนินงานกำไรสุทธิ 4 สหกรณ์ ขาดทุน 2 สหกรณ์ สาเหตุที่สหกรณ์มีผลการดำเนินงานขาดทุนเนื่องจากมีต้นทุนขายสูงในธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายโดยเฉพาะสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง และมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าเก่าเสื่อมสภาพ ในธุรกิจรวบรวมผลิตผล 2) คุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุมภายใน 15 ด้าน ผลการประเมินคุณภาพการควบคุมภายในอยู่ในระดับดี 4 สหกรณ์ และพอใช้ 2 สหกรณ์ มีค่าสัดส่วนของการปฏิบัติ ณ จุดควบคุมน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดสวัสดิการ 4 สหกรณ์ รองลงไปคือ ด้านการมีส่วนร่วม 1 สหกรณ์ และด้านการติดตามผลการปฏิบัติงาน : สหกรณ์ 3) สหกรณ์ที่มีคุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุมภายในระดับดี มีค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์สูงกว่าสหกรณ์ที่มีคุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุมภายในระดับพอใช้ และสหกรณ์ที่มีคุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุมภายในระดับพอใช้ มีค่าเฉลี่ยอัตรากำไรสุทธิ และค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุนสูงกว่าสหกรณ์ที่มีคุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุมภายในระดับดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2744
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_166600.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons