กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2758
ชื่อเรื่อง: ผลของลีโอนาร์ไดต์ดัดแปลงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงกวาที่ปลูกในดินเหนียว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of modified leonardite on growth and yield of cucumber (Cucumis sativus L.) growing in clay soil
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริชาต ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุชิดา ร่วมรักษ์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --การศึกษาเฉพาะกรณี
แตงกวา--การปลูก
ดินเหนียว
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารลีโอนาร์ไดต์ดัดแปลงที่มีผลต่อ 1) การเจริญเติบโต และ 2) ผลผลิตของแตงกวาที่ปลูกในดินเหนียว การวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มีหน่วยการทดลองคือ ต้น แตงกวาจำนวน 9 ต้น ที่ปลูกในแปลงขนาดกว้าง 2 เมตร × ยาว 1 เมตร จำนวน 3 ซ้ำ ทั้งหมด 12 แปลง จำนวน 4 ทรีตเมนต์ ได้แก่ ทรีตเมนต์ที่่ี 1 คือ ไม่ใช้สารผสมลีโอนาร์ไดต์ดัดแปลง ทรีตเมนต์ที่ 2 คือ ใช้สารผสมลีโอนาร์ไดต์ดัดแปลง อัตรา 2.5 ตันต่อไร่ ทรีตเมนต์ที่่ี 3 คือ ใช้สารผสมลีโอนาร์ไดต์ดัดแปลง อัตรา 5.0 ตันต่อไร่ ทรีตเมนต์ที่ 4 คือ ใช้สารผสมลีโอนาร์ไดต์ดัดแปลง อัตรา 7.5 ตันต่อไร่ วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูล และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติด้วยวิธี Duncan’s new multiple range test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ทำการทดลองที่ตำบลบางเดื่อ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ผลการทดลองพบว่า 1) การเจริญเติบโตของแตงกวา อายุ 20 วัน หลังหยอดเมล็ด ที่ได้รับสารลีโอนาไดต์ดัดแปลง อัตรา 7.5 ตันต่อไร่ (ทรีตเมนต์ที่ 4) มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น เฉลี่ยของแตงกวามากที่สุด เท่ากับ 0.66 มิลลิเมตร และมีจำ นวนใบเฉลี่ย/ต้น มากที่สุด เท่ากับ 5.26 ใบ แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กับ ทรีตเมนต์อื่น การเจริญเติบโตของแตงกวา อายุ 30 วัน หลังหยอดเมล็ดที่ได้รับสารลีโอนาไดต์ดัด แปลง อัตรา 7.5 ตันต่อไร่ (ทรีตเมนต์ที่ 4) มีความสูงต้นเฉลี่ยมากที่สุด (p<0.05) เท่ากับ 537.33 เซนติเมตร 2) ผลผลิตของแตงกวาที่ได้รับสารลีโอนาไดต์ดัดแปลง อัตรา 7.5 ตันต่อไร่ (ทรีตเมนต์ที่ 4) แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กับ ทรีตเมนต์อื่น โดยมีความกวา้งผลและความยาวผลมากที่สุด เท่ากับ 4.45 และ 12.58 เซนติเมตร ตามลำดับ น้ำหนักผลมากที่สุด เท่ากับ 9.85 กรัม จำนวนผลเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 1.80 ผล/ต้น/วัน และมีน้ำหนัก ผลผลิตมากที่สุด เท่ากับ 1,516.55 กรัมต่อตน้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2758
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_159602.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons