กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2761
ชื่อเรื่อง: | การจัดการการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าว กลุ่มนาแปลงใหญ่แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Rice production management through innovative technology rice-car-dropping of rice farmers in large agricultural land plot at Khok Faet Sub-district, Nong Chok District, Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปริชาต ดิษฐกิจ ฐานิตา ธนาไกรกิติ, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี ข้าว--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม ข้าว--การปลูก--เทคโนโลยีที่เหมาะสม การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่แขวงโคกแฝด (2) กระบวนการผลิตข้าวแบบดั้งเดิม (3) กระบวนการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าว (4) ความคิดเห็น ปัญหา และอุปสรรคของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ แขวงโคกแฝดที่ได้รับการอบรมการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าว จำนวน 21 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.52 ปี สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.90 คน เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ใช้แหล่งเงินทุนของตนเองในการทำนา ประสบการณ์การทำนาเฉลี่ย 23.86 ปี มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.52 คนต่อครัวเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่า มีลักษณะเป็นดินเหนียว และใช้แหล่งน้ำธรรมชาติ 2) กระบวนการผลิตข้าวแบบดั้งเดิมของกลุ่มนาแปลงใหญ่ เกษตรกรมีการเผาฟางในแปลงนา มีการไถดะกลับหน้าดินตากแดด และไถหมักฟางข้าวทำการปั่นตีดิน และลูบเทือก และมีการพ่นสารควบคุมการงอกของวัชพืช ใช้เมล็ดพันธ์ุข้าวจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ทำการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวค้างคืน และบ่มเพื่อให้มีรากงอกก่อนทำการปลูก ปลูกด้วยวิธีหว่านน้ำตม การจัดการน้ำมีการสูบน้ำในแปลงนาข้าวตลอดเวลา มีกาจัดการปุ๋ย สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูข้าวด้วยสารเคมีทั่วไป และเก็บเกี่ยวข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าวของเกษตรพัฒนา 3) กระบวนการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าว เกษตรกรรู้จักเทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าวหลังจากได้รับการอบรม โดยเกษตรกรมีการปฏิบัติเริ่มจากเตรียมแปลงนา การเตรียมเมล็ดพันธ์ุข้าวแบบประณีต การเพาะกล้าข้าวด้วยเครื่องเพาะกล้าข้าวกึ่งอัตโนมัติ การดูแลรักษาถาดเพาะกล้าข้าวในแปลงอนุบาลกล้าข้าว การปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าว และการดูแลรักษาตามกระบวนการเทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว 4) ความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าว พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมรถหย่อนกล้าข้าว แต่มีปัญหาและอุปสรรค ในการปั่น – ตีดิน -ลูบเทือก การรักษาระดับน้ำ 5 เซนติเมตรหน้าเทือก และการพ่นสารป้องกันกำจัดสัตว์ ศัตรูข ้าว เช่น หอยเชอรี่ ปูนา เพราะระดับพื้นที่ไม่สม่ำเสมอและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และเกษตรกรไม่มั่นใจในการใช้อัตราเมล็ดพันธ์ุข้าวที่ลดน้อยลง เนื่องจากมีความกังวลว่า ผลผลิตจะลดน้อยลงด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2761 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_161993.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.56 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License