กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2775
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิกผักอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอชุมตาบาง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for organic vegetable production of farmers in Chum Ta Bong District, Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐณิชา กวีวัฒนา, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผักอินทรีย์--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตผักของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ 4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 53.5 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.83 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกผักเฉลี่ย 7.25 ปี ร้อยละ 46.8 เป็นกลุ่มสมาชิก ธ.ก.ส. พื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 4.48 ไร่ รายได้จากการจาหน่ายผัก เฉลี่ย 86,505.56 บาทต่อปี ชนิดผักที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ พริก ร้อยละ 20.7 แหล่งได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่มาจากผู้นา ในหมู่บ้าน 2) สภาพการผลิตผัก พบว่า เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับมาก ได้แก่ เมล็ดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เกษตรกรปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ การจัดการและการปรับปรุงบำรุงดิน พื้นที่ การบันทึกข้อมูลการผลิต และการทวนสอบเกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ การแสดงฉลากและการกล่าวอ้าง 3) เกษตรกรระบุว่ามีปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำ ทุน การวางแผนการผลิตการตลาด การรวมกลุ่มการผลิต และข้อเสนอแนะต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ในด้านปัจจัยการผลิต ความรู้และข่าวสาร 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตผักตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ พบว่า เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมความรู้ในระดับมาก ได้แก่ การวางแผนการจัดการกระบวนการผลิต การจัดการและการปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการศัตรูพืช การบันทึกข้อมูลการผลิตและการตลาด ผ่านสื่อบุคคลจากรัฐบาลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากโทรทัศน์ และความต้องการวิธีการส่งเสริมอยู่ในระดับมากทุกช่องทาง แนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างองค์ความรู้การปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ วางแผนการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ถึงกระบวนการตลาด การประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ การพัฒนาเกษตรกรต้นแบบและจัดทาแปลงเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ การจัดกิจกรรมทัศนศึกษารวมทั้งการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายการผลิตผักอินทรีย์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2775
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons