กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2779
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the performance of health personnel in solving dengue hemorrhagic fever problems at sub-district health promoting hospitals in areas with recurrent outbreaks in Nakhon Si Thammarat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรางคณา จันทร์คง กรณัฐ ชูเนตร, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธีระวุธ ธรรมกุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์ ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคล แรงจูงใจ การสนับสนุนจากองค์กร และการปฏิบัติงาน (2) อิทธิพลของ ลักษณะเฉพาะตัวบุคคล แรงจูงใจ และการสนับสนุนจากองค์กรต่อการปฏิบัติงาน และ (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.56 อายุเฉลี่ย 38.96 ปี สถานภาพ ส่วนใหญ่ สมรส ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพหรือสาธารณสุข เฉลี่ย 16.32 ปี ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก เฉลี่ย 13.18 ปี ความรู้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย ทัศนคติในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับที่ดี แรงจูงใจในด้านปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับสูง ด้านปัจจัยค้ำจุนก็อยู่ในระดับสูง การสนับสนุนจากองค์กรอยู่ในระดับมาก และการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้ในการปฏิบัติงาน และการสนับสนุนจากองค์กร มีอิทธิพลทางบวก และเป็นตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานของบุคลากร ร้อยละ 61.00 และ (3) ปัญหาอุปสรรคที่พบมากสุด คือ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ค่อยตระหนักในความสาคัญของการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ข้อเสนอแนะเพิ่มการประสานงานทำความเข้าใจกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. บริหารสาธารณสุข)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2779 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License