Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2781
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorผกาทิพย์ ฤทธิ์ชู-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-23T08:26:17Z-
dc.date.available2023-01-23T08:26:17Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2781-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทและปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ 2) วิเคราะห์ผลการดําเนินงาน และฐานะการเงินของสหกรณ์ และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการดําเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์นครหาดใหญ่ จํากัด จังหวัด สงขลา วิธีการศึกษาเป็นการเก็บข้อมูลทุติยภูมิ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน หมายเหตุ ประกอบงบการเงิน และเอกสารทางการเงินอื่นของสหกรณ์ในระหว่างปี 2555 – 2559 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีย่อส่วนตาม แนวดิ่ง การวิเคราะห์แนวโน้ม และการวิเคราะห์แบบ CAMELS โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มสหกรณ์จากกรมตรวจบัญชี สหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สหกรณ์ออมทรัพย์นครหาดใหญ่ จํากัด เป็นสหกรณ์ที่มีขนาดใหญ่มาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีสมาชิก จํานวน 3,430 คน สินทรัพย์รวม 430.75 ล้านบาท ดําเนินธุรกิจด้านการรับฝากเงิน ระหว่างปี 2555- 2559 ปริมาณธุรกิจ 192.78- 227.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาตามลําดับ ปริมาณธุรกิจสินเชื่อ ปี 2555-2556 จํานวน 201.64 -205.72 ล้านบาท ปี 2557-2558 ลดลงเป็น 173.30 และ 146.87 ล้านบาท ส่วนปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น 225.52 ล้านบาท 2) ผลการดําเนินงานของสหกรณ์ รายได้หลักของสหกรณ์ได้แก่ ดอกเบี้ยรับเงินให้กู้แต่มีแนวโน้มลดลงจากเดิมร้อยละ 92.17 ของรายได้ เป็น ร้อยละ 67.98 ของรายได้ โดยผลตอบแทนจากเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.93 เป็นร้อยละ 30.46 ของรายได้ ในปี 2559 ค่าใช้จ่ายของสหกรณ์ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่ายเงินรับฝาก ร้อยละ 26.84- 32.02 และค่าใช้จ่ายดําเนินงานร้อยละ 32.19 – 53.73 ของรายได้ ฐานะการเงินของสหกรณ์ สหกรณ์มีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนร้อยละ 54.27 -74.21 ของสินทรัพย์รวม ส่วนใหญ่เป็นเงินให้กู้ยืมระยะยาว และเงินลงทุนระยะยาว สหกรณ์มีหนี้สินรวมร้อยละ 53.00-58.22 ของหนี้สินและทุนของสหกรณ์ หนี้สินส่วนใหญ่เป็ นเงินรับฝากร้อยละ 51.21 - 56.73 ทุนของสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นทุนเรือนหุ้นร้อยละ 33.61- 36.33 การวิเคราะห์ CAMELS มิติที่ 1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยงค่าเฉลี่ยของสหกรณ์ 5 ปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ยกเว้น อัตราการเติบโตของหนี้ ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มค่อนข้างมาก มิติที่ 2 คุณภาพสินทรัพย์ อัตราการค้างชําระหนี้ของสหกรณ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มจํานวนมาก แต่อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของสหกรณ์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม มิติที่ 3 ขีดความสามารถในการบริหาร อัตราการเติบโตของธุรกิจของสหกรณ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม แต่ของสหกรณ์บางปี มีอัตราการเติมโตของธุรกิจเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่แน่นอน มิติที่ 4 การทํากำไร ค่าเฉลี่ยของสหกรณ์ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มคือ อัตรากำไรต่อสมาชิก อัตราเงินออมต่อสมาชิก และอัตราหนี้สินต่อสมาชิก อัตราการเติมโตของทุนสํารองของสหกรณ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ส่วนอัตราการเติบโตของกำไร และอัตรากำไรสุทธิของสหกรณ์ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม มิติที่ 5 สภาพคล่อง สภาพคล่องของสหกรณ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ส่วนอัตราลูกหนี้ระยะสั้นที่ชําระได้ตามกำหนด ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม มิติที่ 6 ผลกระทบต่อธุรกิจ สถาบันการเงินต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากหลายครั้งแต่สหกรณ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินรับฝาก สหกรณ์คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไว้ค่อนข้างสูง จึงทําให้สหกรณ์มีเงินรับฝากเพิ่มขึ้น ส่วนการให้เงินกู้ของสหกรณ์เพิ่มขึ้นไม่มากนัก 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการดําเนินงานของสหกรณ์ ด้านสินทรัพย์ สหกรณ์มีที่ดินแทนการชําระหนี้รอจําหน่ายแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สหกรณ์ควรรีบดําเนินการขายเพื่อให้มีรายได้กับสหกรณ์ และ สหกรณ์มีเงินรับฝากจํานวนมาก สหกรณ์ควรมีเครื่องมือในการบริหารเงินรับฝากมีสภาพคล่องอยู่เสมอ ด้านรายได้ สหกรณ์มีหนี้ค้างชําระค่อนข้างสูงควรมีมาตรการติดตามเร่งรัดหนี้ค้างชําระ ด้านค่าใช้จ่าย สหกรณ์มีค่าใช้จ่ายดําเนินงานค่อนข้างสูง ควรกำหนด มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานให้รัดกุมมากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์ออมทรัพย์--การบริหาร.--ไทย--สงขลาth_TH
dc.subjectสหกรณ์ออมทรัพย์--งบการเงิน.--ไทย--สงขลาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์นครหาดใหญ่ จำกัด จังหวัดสงขลาth_TH
dc.title.alternativeAn analysis of the performance and financial status of the Hat Yai Savings and Credit Cooperative Ltd., Songkhla Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to 1) study the types of business and volume of business of Hat Yai Savings and Credit Cooperatives, Ltd.; 2) analyze the cooperative’s performance and financial status; and 3) recommend approaches for improving its operations. The research method was collection and analysis of tertiary data, consisting of the financial statements, profit and loss, note of financial statement and other financial documents of the Hat Yai Savings and Credit Cooperatives, Ltd. from 2012 to 2016. Data were analyzed using the common size method, trend, and CAMELS analysis, and comparisons were made with the peer group Cooperative Auditing Department averages. The results showed that 1) Hat Yai Savings and Credit Cooperatives, Ltd. were classified as a very large sized cooperative. As of 31 December 2016 it had 3,430 members and total assets of 430.75 million baht. From 2012 – 2016 the business volume of the cooperative’s savings deposit business increased from 192.78 to 227.15 million baht. In 2012-2013 the business volume of its credit business was 201.64-205.72 million baht; in 2014-2015 it decreased to 173.30 and 146.87 million baht, but in 2016 it increased to 222.50 million baht. 2) The performance of the cooperative’s main source of income was interest from loans, but there was a trend for this to decrease from 92.17% of income to 67.98%. In 2016 returns from investments increased from 7.93% to 30.46% of income. The cooperative’s main expenses were interest paid on debts, accounting for 26.84-32.02% of expenses, and operational expenses, accounting for 32.19-53.73% of total expenses. Financial status: Non-working assets (mostly long-term loans and long-term investments) accounted for 54.17-74.21% of the cooperative’s total assets. Liabilities accounted for 53.00-58.22% of the cooperative’s debts and capital. Most of the liabilities (51.21-56.73%) were deposits. Most of the cooperative’s capital was capital stock (33.61-36.33%). CAMELS analysis: Dimension 1 – Capital strength, over the 5-year study period were higher than the peer group average, except that its debt growth rate were quite low compared to the group average. Dimension 2 - Asset quality, the cooperative’s arrears rate were much higher than the group average but its returns to assets ratio was higher than the group average. Dimension 3 – Management ability, the cooperative’s business growth rate were higher than the peer group average, but in some years the growth rate fluctuated uncertainly. Dimension 4 – Earning sufficiency were below the peer group average. Although profits per member, savings per member, liabilities per member and reserve capital growth rate were above average, the profit growth rate and net profit rate were below average. Dimension 5 – Liquidity were higher than the peer group average while the on-time debt payment ratio were lower than the peer group average. Dimension 6 - Sensitivity, various financial institutions changed their lending rates and interest rates on savings, but the cooperative did not change its rate to match them. It maintained its rather high lending rate and interest rate on savings accounts, so it was able to attract more savings deposits and modestly increase lending. 3) Recommended approaches for improving the cooperative’s operations: assets- the cooperative tends to acquire more land in lieu of loan repayments, so it should sell off the land to increase revenue. Also, the cooperative had a large amount of deposits so it should deploy financial tools to manage liquidity. Income – the cooperative should use follow up measures to speed repayment of it outstanding loans. Expenses – operational expenses were high, so the cooperative should use a policy to more strictly control costsen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156804.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons