กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/278
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบธรรมาภิบาลท้องถิ่นเทศบาลเมืองบึงยี่โถกับเทศบาลเมืองลาดสวายจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The comparative study of local good governance of "Buengyeetho Municipalty and Lad Sawai Municipalty Pathumthani Provincial"
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนศักดิ์ สายจําปา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐฐิณี เที่ยงผดุง, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น -- วิทยานิพนธ์
ธรรมรัฐ -- ไทย -- ปทุมธานี
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาเปรียบเทียบธรรมาภิบาลห้องถิ่นระหว่างเทศบาลเมืองบึง ยี่โถกับเทศบาลเมืองลาดสวาย จังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำธรรมาภิบาล ห้องถิ่นไปใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมือง (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลห้องถิ่นใน องค์กรปกครองส่วนห้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทน กรรมการชุมชน ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถและเทศบาลเมืองลาดสวาย เทศบาลละ 20 คน กลุ่ม ตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เครืองมือใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาเทียบพบว่า (1) เทศบาลเมืองบึงยี่โถและเทศบาลเมืองลาดสวายเน้นการยึดหลัก ประโยชน์สุขของประชาชนในห้องถิ่นเป็นเป้าหมายสูงสุดเหมือนกัน และยังยึดหลักการเข้าสู่ตำแหน่ง อย่างชอบธรรม สุจริต เที่ยงธรรม หลักความโปร่งใน ตรวจสอบได้และหลักการมีส่วนร่วมของภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดเหมือนกัน แต่มีวิธีการในการดำเนินการแตกต่างกันเพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย คือ วิธีการคัดเลือกโครงการ หลักการพิจารณาเลือกนักการเมือง และการชัดกิจกรรมต่าง ๆ (2) เทศบาลเมืองบึงยี่โถไม่พบปัญหาและอุปสรรคของการนำธรรมาภิบาลห้องถิ่นไปใช้ แต่เทศบาลเมืองลาด สวายพบปัญหาและอุปสรรค คือ ทุกภาคส่วนยังไม่ตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ นักการเมืองขาดประสบการณ์ ในการบริหารทรัพยากร ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการพิจารณาเลือกนักการเมือง ประชาชนไม่ทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของเทศบาล ช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารมีน้อย (3) ข้อเสนอแนะ คือ ทุกส่วนต้องให้ความสำคัญกับความต้องการของประชาชนเป็นหลักและส่งเสริมให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาชุมชน ทุกภาคส่วนต้องมีความตระหนักถึงประโยชน์ของ ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เคารพกฎหมาย ตระหนักถึงบทบาทของตนเอง เทศบาลต้องให้ความรู้ แก่ประชาชน วางกลยุทธ์ในการชัดกิจกรรมให้เหมาะสม ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกด้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/278
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151541.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons