กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2790
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการหนี้ของสหกรณ์การเกษตรระโนด จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guideline to develop the Debt Management of Ranot Agriculture Cooperative Ltd.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธาสินี แสงอรุณ, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรระโนด
หนี้--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสมาชิกคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ และฝ่ายจัดการสหกรณ์ (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสมาชิก คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ และฝ่ายจัดการสหกรณ์ ต่อแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการหนี้ของสหกรณ์การเกษตรระโนด จำกัด (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นความคิดเห็นของสมาชิก คณะกรรมการดำเนินการ และฝ่ายจัดการต่อแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการหนี้ของสหกรณ์การเกษตรระโนด จำกัด วิธีการจัดเก็บข้อมูล โดยวิธีเก็บข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) สมาชิกสหกรณ์ที่ใช้บริการธุรกิจสินเชื่อจากสหกรณ์จำนวน 300 คน 2) คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมด จำนวน 15 คน 3) ฝ่ายจัดการสหกรณ์ ประกอบด้วยผู้จัดการ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ตลาด จำนวน 1 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 318 คน ข้อ มูลทุติยภูมิจากรายงานกิจการประจำปี ของสหกรณ์ รายงานผลการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ตั้งแต่ปีบัญชี 2552 – 2554 และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า สมาชิก คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการสหกรณ์ มีความคิดเห็นระดับมาก ในแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการหนี้ของสหกรณ์การเกษตรระโนด จำกัด โดยมีแผนบริหารจัดการหนี้ ให้มีการดำเนินการเร่งรัดหนี้ โดยดำเนินการขั้นตอนที่ได้กำหนดแผนบริหารจัดการธุรกิจให้มีการระดมทุนภายใน โดยการระดมการถือหุ้น และเงินรับฝากทุกประเภท และแผนบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร โดยสร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสหกรณ์มีการประชาสัมพีนธ์เชิงรุกมีการนำหลักธรรมาภิบาลมาถือใช้อย่างเคร่งครัด โดยฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการจะต้องมีการติดตามผลความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการของแต่ละฝ่ายเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้มีการบริหารจัดการลูกหนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2790
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_130312.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons