กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2791
ชื่อเรื่อง: การใช้พลุสารดูดความชื้นที่มีผลต่อลักษณะเมฆฟิสิกส์ที่ระดับฐานเมฆคิวมูลัส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of hygroscopic flares on characteristics of cloud physics at the cumulus cloud base
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ
หนึ่งหทัย ตันติพลับทอง, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
เมฆ
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้พลุสารดูดความชื้นสูตรโซเดียมคลอไรด์และสูตรแคลเซียมคลอไรด์ที่มีผลต่อลักษณะเมฆฟิสิกส์ท่ีระดับฐานเมฆ คิวมูลัส วิธีการทดลองใช้หน่วยทดลองที่ได้มาจากข้อมูลทุติยภูมิภายใต้โครงการทดสอบประสิทธิภาพพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัตืการฝนหลวงเมฆอุ่น ตั้งแต่ปี 2552 – 2554 โดยจำแนกหน่วยทดลองออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเมฆที่ไม่ใช้พลุสารดูดความชื้น จำนวน 3 ตัวอย่าง กลุ่มเมฆที่ใช้พลุสูตรโซเดียมคลอไรด์ จำนวน 6 ตัวอย่าง และกลุ่มเมฆที่ใช้พลุสูตรแคลเซียมคลอไรด์ จำนวน 9 ตัวอย่าง ข้อมูลเมฆฟิสิกส์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ปริมาณน้ำ ขนาด และปริมาณความเข้มข้น ของเม็ดน้ำ ที่ได้จากเครี่องมือตรวจวัดอนุภาคขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 47 ไมครอนที่ติดตั้ง บนเครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ทำการเปรียบเทียบข้อมูลเมฆฟิสิกส์ระหว่างก่อนใช้กับหลังใช้พลุสารดูดความชื้นด้วยวิธี paired samples t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยข้อมูลเมฆฟิสิกส์ด้วยวิธี independent samples t-test ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อนใช้กับหลังใช้พลุสารดูดความชื้น ด้วยวิธี paired samples t-test ปรากฎว่ากลุ่มเมฆที่ไม่ใช้พลุสารดูดความชื้นกับกลุ่มเมฆที่ใช้พลุสูตรโซเดียมคลอไรด์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 ทั้งปริมาณน้ำ ขนาดและปริมาณความเข้มข้นของเม็ดน้ำ แต่พบว่า เม็ดน้ำของกลุ่ม เมฆที่ใช้พลุสูตรแคลเซียมคลอไรด์ มีขนาดใหญ่ขึ้นหลังการชัพลุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัย สำคัญ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยข้อมูลเมฆฟิสิกส์ด้วยวิธี independent samples t-test พบว่า กลุ่มเมฆทั้งสามกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำ ขนาดและปริมาณความเข้มข้นของเม็ดน้ำ ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูลเมฆฟิสิกส์ กล่าวได้ว่า กลุ่มเมฆที่มีการใช้พลุสารดูดความชื้นทั้งสองสูตรมีแนวโน้มช่วยให้เม็ดน้ำที่ระดับฐานเมฆเกิดการรวมตัวกัน จนมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ดีกว่า การรวมตัวกันตามธรรมชาติ และกลุ่มเมฆที่ใช้พลุสูตรแคลเซียมคลอไรด์ มีขนาดเม็ดน้ำใหญ่กว่ากลุ่มเมฆที่ใช้พลุสูตรโซเดียมคลอไรด์ และกลุ่มเมฆที่ใช้พลุสูตรโซเดียมคลอไรด์ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำ และปริมาณความเข้มข้น ของเม็ดน้ำได้ดีกว่ากลุ่มเมฆที่ใช้พลุสูตรแคลเซียมคลอไรด์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2791
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_138433.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons