กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2795
ชื่อเรื่อง: | การขอรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ของกลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | การขอรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ของกลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ สุพิชชา ทิพย์กัณฑ์, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร--ไทย--เพชรบูรณ์ สินค้าเกษตร--มาตรฐาน.--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้นำกลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์ในจังหวัด เพชรบูรณ์ 2) สภาพทั่วไปของกลุ่มอาชีพสังกัด สหกรณ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขอรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ในจัง หวัดเพชรบูรณ์ และ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อ เสนอแนะในการขอรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้นำกลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีสถานะดำเนินการในปี พ.ศ.2556 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้นำ กลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51-60 ปี ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา และมีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 10,000 – 15,000 บาท 2) สภาพทั่วไปของกลุ่มอาชีพส่วนใหญ่ผลิตสินค้า ประเภทอาหาร มีที่ตั้งกลุ่มอาชีพในอำเภอชนแดน อำเภอวังโป่ง อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ มีระยะเวลาในการจัด ตั้งกลุ่มอาชีพมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป มีจำนวนสมาชิกในกลุ่มอาชีพ 21-30 คน โดยมียอดจำหน่ายสินค้า ของกลุ่มอาชีพต่อปีมากกว่า 200,000 บาทขึ้นไป มาตรฐานสินค้า ที่กลุ่มอาชีพได้รับ คือมาตรฐาน มผช. และกลุ่มอาชีพมีการผลิตสินค้าต่อเนื่องตลอดทั้งปี 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขอรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ ในภาพรวมทุกปัจจัยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยปัจจัย 3 อัน ดับแรก ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ มีความเหมาะสมอยู่นระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านเกณฑ์การให้การรับรองสินค้า มาตรฐานสหกรณ์ และด้านเอกสารและหลักฐานในการขอรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ ตามลำดับ 4) ปัญหาและอุปสรรคในการขอรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ที่สำคัญ คือ การประชาสัมพันธ์การขอรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ยังไม่ทั่วถึง และกลุ่มอาชีพไม่ติดสัญลัก ษณ์สินค้ามาตรฐานสหกรณ์ในบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่ได้รับการรับรอง โดยผู้นำกลุ่มอาชีพมีข้อ เสนอแนะว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ควรมีงบประมาณสนับสนุนกลุ่มอาชีพที่ขอรับรองสินค้า มาตรฐานสหกรณ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2795 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_ 140470.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License