กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2836
ชื่อเรื่อง: | การจัดการการผลิตและการตลาดยางคอมปาวด์ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of the compound rubber production and marketing management of Thannumtip Planter's Group, Betong District, Yala |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ส่งเสริม หอมกลิ่น ฝ่า ลื้อบาย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี ยาง--การผลิต ยาง--การตลาด การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ ยางพารา--การผลิต ยางพารา--การตลาด |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการจัดการการผลิตและการตลาดยาง คอมปาวด์ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคด้าน การจัดการการผลิตและการตลาดยางคอมปาวด์ และ 3) แนวทางการจัดการการผลิตและการตลาดของกลุ่ม เกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ เป็น คณะกรรมการดำเนินการกลุ่มเกษตรกร ผู้จัดการและพนักงานที่เกี่ยวข้องกลุ่มเกษตรกรธารน้ำทิพย์ที่ผลิตยางคอม ปาวด์ เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 25 ราย และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ที่ร่วมธุรกิจใน อำเภอเบตงจังหวัดยะลา โดยจัดสัมมนาจากคณะกรรมการดำเนินการกลุ่มเกษตร ผู้จัดการสหกรณ์และพนักงาน กลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่สงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเบตง เจ้าหน้าที่สอบบัญชี และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ รวม 25 คน โดยใช้รูปแบบการระดมสมอง (Brainstorming) จำนวน 1 ครั้ง และสรุปผลการประชุมส่งให้ ผู้เกี่ยวข้องพิจารณายืนยันความสมบูรณ์เนื้อหาสาระอีกครั้งหนึ่ง ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้พบว่า (1) ด้านสภาพทั่วไป สมาชิกเกือบทั้งหมดมีการขายน้ำยาง สดให้แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ กลุ่มมีฐานะการเงินมั่นคง เมื่อวันสิ้นปีบัญชี 28 กุมภาพันธ์ 2554 มี สินทรัพย์รวม 137,886,964.62 บาท (2) การจัดการการผลิตยางคอมปาวด์ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ เริ่มผลิตยางคอมปาวด์เพื่อการส่งออกเฉลี่ย 200 ตันต่อเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อปี 2554 กลุ่ม ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่งบประมาณจากภาครัฐที่มีกำลังผลิตเฉลี่ย 2,000 ตันต่อเดือนแต่ยังไม่ได้เริ่มทำการผลิต ปัญหาการจัดการผลิตยางคอมปาวด์ของกลุ่ม ได้แก่ สมาชิกขาดจิตสำนึก คณะกรรมการดำเนินการไม่ได้ กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ฐานะการเงินไม่เพียงพอ ปริมาณน้ำยางสดไม่เพียงพอ ขาดการพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตที่ทันสมัย การขาดแคลนไม้ฟืน (3) การจัดการตลาดกลุ่มอาศัยคำสั่งซื้อจากบริษัทเจิ้นซินแห่งประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้นอันเป็นตลาดปิด ไม่มีตลาดยางคอมปาวด์สำรอง ไม่มีการพัฒนาตราสินค้า การ กระจายสินค้าให้บริษัทปลายทางต้องอาศัยพ่อค้าคนกลางในประเทศจีนเพียงฝ่ายเดียว (4) แนวทางการจัดการการผลิต ยางคอมปาวด์ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ ควรให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมยางคอมปาวด์แก่กรรมการ ฝ่ายจัดการและสมาชิก เพิ่มการระดมทุนจากสมาชิก ใช้ระบบการควบคุมภายในที่ดี การจัดการการตลาดต้องพัฒนา ตราสินค้าของตนเอง ให้ความสำคัญกับการจัดทำห่วงโซ่อุปทานและแผนที่ยุทธศาสตร์บริหารการตลาดเชิงกล ยุทธ์ โดยน าไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2836 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
123551.pdf | 14.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License