กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2849
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of the integrated guidance activities package on smoking behavior changes of secondary school students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิระสุข สุขสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมร แสงอรุณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สมเสนาะ, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์
การสูบบุหรี่--การป้องกันและควบคุม
การให้คำปรึกษาในการศึกษาขั้นมัธยม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ศึกษาประสบการณ์การสูบบุหรี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลอง ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นได้บูรณาการแนวคิดทางจิตวิทยา และเทคนิคการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 14 กิจกรรม ได้แก่ (1) ปฐมนิเทศและสร้างความคุ้นเคย (2) บุหรี่มีพิษภัยตายผ่อนส่ง (3) บุหรี่ภัยใกล้ตัว (4) ยังไม่สายเกินไป (5) รู้ไว้ใช้ป้องกัน (6) ความรู้สึก ความคิด และความเชื่อ (7) ไตร่ตรองสักนิดหากคิดจะสูบ (8) การตัดสินใจ (9) การรู้คิดแก้ไขปัญหา (10) การปฏิเสธและเจรจาต่อรอง (11) การยอมรับตนเอง (12) การเห็นคุณค่าในตนเองและมีความเชื่อมั่นในตนเอง (13) ความพอใจในตนเอง และ (14) ปัจฉิมนิเทศ ผลการประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมแนะแนวมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการ พบว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดยรวมและรายด้านหลังการทดลองน้อยลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการสูบบุหรี่หลังการทดลองน้อยกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาประสบการณ์การสูบบุหรี่ ของนักเรียนกลุ่มทดลอง พบว่า นักเรียนเริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกเมื่อเริ่มเข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เหตุจูงใจ ในการสูบบุหรี่จาแนกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ สูบตามเพื่อน สูบเพราะอยากรู้อยากลอง สูบเพราะว่าโก้ เท่ และ สูบเพราะ ตามแบบอย่างบุคคลในครอบครัว
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศึกษาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2849
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons