กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/285
ชื่อเรื่อง: บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินกับการพัฒนาการเมืองไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role of the ombudsman and Thailand's political development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรภัทร์ เสรีสังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระมหาวิเศษ เสาะพบดี, 2524- 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา -- ไทย
การพัฒนาทางการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินที่มีต่อการ พัฒนาการทางการเมืองไทย (2) ปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของผู้ตรวจการ แผ่นดินที่มีต่อการพัฒนาการทางการเมืองไทย และ 3) หาแนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้ตรวจการ แผ่นดินในการพัฒนาการทางการเมืองไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจำนวน 12 คน ประกอบด้วย นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ 2 คน นักวิชาการทางกฎหมายมหาชน 2 คน นักการเมือง 2 คน ข้าราชการ 2 คน ผู้ตรวจการแผ่นดินและ เลขาธิการ 4 คน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย (1) บทบาทผู้ตรวจการแผ่นดินที่มีต่อการพัฒนาการทางการเมืองไทย พบว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้เดือดร้อนมีช่องทางในการเรียกร้องความเป็นธรรมจากภาครัฐ ช่วยสร้างเสริมให้นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม และมีส่วนสำคัญในการ พัฒนาการระบบการเมืองตามโครงสร้างทางการเมืองของไทย (2) ปัญหาอุปสรรคชองการปฏิบัติหน้าที่ ตามบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน พบว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นเพียงผู้รับเรื่องร้องเรียนแล้วส่งให้ หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการไม่มีอำนาจบังคับหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบหรือเสียผลประโยชน์ให้ ปฏิบัติตามได้ การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอยู่สามคนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (3) ข้อเสนอแนะแนวทาง การส่งเสริมบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน พบว่า ควรปรับปรุงบทบาทผู้ตรวจการแผ่นดินที่มีผลต่อการ พัฒนาการทางเมืองไทย โดยเน้นบทบาทหลักในการรับเรื่องร้องทุกข์ของผู้เดือดร้อนจากนโยบายภาครัฐ ควรปฏิบัติงานในรูปแบบคณะกรรมการและขยายงานออกไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น ควรปรับปรุงพัฒนา ศักยภาพชองเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อมมากกว่าที่เป็นอยู่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/285
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144841.pdfเอกสารฉบับเต็ม34.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons