Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2870
Title: ความรู้ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน ของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
Other Titles: Knowledge, comprehension and application of sufficiency economy philosophy for everyday's life of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives customers, Mae Tuen Branch Lee District, Lamphun Province
Authors: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงษ์พัฒน์ หมวกหลำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เศรษฐกิจพอเพียง
การดำเนินชีวิต--แง่เศรษฐกิจ
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาคนคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและการ ประยกตุใช้ ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.) เพื่อศึกษาปัจจยส่วนบุคคลกับระดับความรู้ความเข้าใจและระดับการ นําไปประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.) เพื่อศึกษาความสามารถในการถ่ายทอดความรู้หลกปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของเจาหน้าที่การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภมิู โดยการใชแบบสอบถามประชากรที่ใช้ในการ ศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาแม่ตืน อําเภอลี้ จังหวดลำพูน ที่ผ่านการฝึกอบรมจากธ.ก.ส. จํานวน 125 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 96 คนโดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่การทดสอบสมมุติฐานเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยค่าสหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson Correlation) ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ (ร้อยละ74) มีความรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สมาชิก ส่วนใหญ่ (ร้อยละ79.08 ) ได้นําแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ ในการดำเนินชีวิต สมาชิกส่วนใหญ่มีระดับการนำ แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้ เกิดประโยชน์แก่ตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความสามารถในการถ่ายทอด ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับปานกลาง การนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเรื่องการออมเงิน มีความสัมพันธ์กับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่อยาางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (ค่าสหสัมพันธ์ = .350) และในเรื่องการลด ละเลิกกิจกรรมฟุ่มเฟือย การปลูกพืชและเลี้ยงสัตวเพื่อบริโภคในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนระหว่างครัวเรือน แทนหาซื้อจากตลาด และหากมีปัญหาเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในครอบครัวได้ใช้ เหตุผล สติปัญญา ตัดสินใจอย่างรอบคอบมีความสัมพันธ์กับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าสหสัมพันธ์ = .210, .224 และ .241) ส่วนในเรื่องอื่น ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2870
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128369.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons