Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/289
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน |
Other Titles: | Factors related to the competency of nurses in Tambol Health Promoting Hospitals, the Upper North Eastren Part |
Authors: | เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา จารุพร สาธนีย์, อาจารย์ที่ปรึกษา ชบาไพร แก้วกงพาน, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) พยาบาล สมรรถภาพในการทำงาน |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าองค์การ และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าองค์การและวัฒนธรรม องค์การแบบสร้างสรรค์กับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ 3) ตัวแปรพยากรณ์ที่ร่วมกันทำนายสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน จำนวน 163 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ (1) สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ (2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในงาน (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์การ และ (4) วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านและ วิเคราะห์หาความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.85 0.81 0.91 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในงาน ภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์การ และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ มีคะแนน เฉลี่ยโดยรวมอยูในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.42, 4.37, 4.35 และ 4.30 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.52, 0.51, 0.52 และ 0.50 ตามลำดับ) (2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าองค์การและวัฒนธรรม องค์การแบบสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 (r= 0.46, 0.61และ 0.65 ตามลำดับ) (3) วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของหัวหน้าองค์การ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในงานสามารถร่วมกันทำนายสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 44 (R 2 = 0.44, p<0.05) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/289 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License