กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2908
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสหวิทยาเขตเวียงป้อ จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting mathematics learning achievement of Mathayom Suksa III students of Wiang Po School Consortium in Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วินิจ เทือกทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนิดา กิติตุ้ย, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--คณิตศาสตร์
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนในสหวิทยาเขตเวียงป้อ จังหวัดน่านและ (2) สร้างสมการพยากรณ์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนในสหวิทยาเขตเวียงป้ อ จังหวัดน่านกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ปี การศึกษา 2562 โรงเรียนในสหวิทยาเขตเวียงป้อ จังหวัดน่าน จ านวน 119 คน โดยค านวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G *Power 3.1 และท าการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดความตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์และ แบบบันทึกคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งแบบวัดตัวแปรอิสระทั้ง 3ตัวแปรผู้วิจัยใช้ Google formในการรวบรวมข้อมูล โดยวิเคราะห์ค่าความเที่ยง ของแบบวัดทั้ง3ฉบับโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.954, 0.945 และ 0.905 ตามล าดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนระดับลดหลั่นผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่าง ความตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.926 0.914 และ 0.906 ตามล าดับ ซึ่งมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น พบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3ตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรตามได้ร้อยละ 88.00 (R2 = 0.880) ซึ่งมีขนาดสูงและมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1และมีสมการถดถอยรูปคะแนนดิบและรูปมาตรฐาน ดังนี้ Achievement’ = 18.364 + 0.936(Determination) + 0.403(Attitude) +0.297(Motivation) Z' Achievement = 0.500(Z Determination) + 0.277 (Z Attitude) + 0.181(Z Motivation)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2908
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_166504.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons