Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2909
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Other Titles: | Factors affecting mathematical communication ability of Mathayom Suksa IV Students |
Authors: | วินิจ เทือกทอง ชานนท์ รักปรางค์, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การสื่อสารทางคณิตศาสตร์ การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสอนของครู ความรู้พื้นฐานเดิม และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน กับความสามารถในการ สื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) สร้างสมการพยากรณ์ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 150 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ G*Power 3.1 และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูพฤติกรรมการสอนของครู (2) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามในตอนที่ 2 ตอนที่ 3 และแบบวัดความสามารถในการสื่อสารทาง ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93, 0.95 และ 0.87 ตามลำคับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูลคือ สถิติบรรยาย สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสอนของครู เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน กับความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.644 0.538 และ 0.734 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ และ (2) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหฺคูณแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 56.2 ซึ่งมีขนาดสูงและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีสมการถดถอยรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2909 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_164621.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License