กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2922
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านในการเรียนวรรณคดี เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of learning management based on the response of reader theory in learning the episode of Khun Chang Submits Petition of Khun Chang Khun Phaen Thai Literature on learning achievement of Mathayom Suksa VI students in schools under the Secondary Education Service Area Office 29 in Amnat Charoen province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณี ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดา อรรคราช, 2535-
หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--ภาษาไทย
ภาษาไทย--การอ่าน--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จังหวัดอำนาจเจริญ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีคูณวิทยบัลลังก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จังหวัดอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้วรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน จำนวน 6 แผน และ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จังหวัดอำนาจเจริญ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2922
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_164021.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons