Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมพร พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวิไลลักษณ์ เสรีตระกูล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorอภิญญา อิงอาจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorภัทราวดี วงศ์สุเมธ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-06T07:41:59Z-
dc.date.available2022-08-06T07:41:59Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/292-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของอาจารย์ ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทย (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลแบบผสมผสานด้านการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของอาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทย และ (3) เพื่อพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทยยอมรับระบบการเรียนผานเว็บการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีกรอบแนวคิดการวิจัยผสมผสานระหวางโมเดลและทฤษฎี 4 เรื่อง ได้แก่ โมเดลการยอมรับนวัตกรรมโมเดลความสำเร็จของระบบสารสนเทศ ทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรม และทฤษฎีการกระทำตามหลักเหตุและผล กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในมหาวิทยาลัยไทยจำนวน 295 ราย จาก 24 สถาบัน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้เชี่ยวชาญ 7 คนที่คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ระหวางตัวแปร เหตุและผล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงนิรนัยและอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) อาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทยมีความคิดเห็นต่อการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บ จำแนกตามปัจจัยด้านระบบสารสนเทศ ปัจจัยด้านจิตวิทยา ลักษณะของนวัตกรรม และปัจจัยเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้ ในระดับค่อนข้างมาก (2) โมเดลแบบผสมผสานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บได้ร้อยละ 81.10 โดยปัจจัยสำคัญ 3 ปัจจัยแรกที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บ พิจารณาขนาดอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจในการใช้ คุณภาพในการดำเนินงานของระบบ และ คุณภาพของสารสนเทศ (3) แนวทางในการส่งเสริมการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บควรให้ความสำคัญกับ ปัจจัยที่มีขนาดอิทธิพลในระดับมาก ได้แก่ ความตั้งใจในการใช้ คุณภาพในการดำเนินงานของระบบ และคุณภาพ ของสารสนเทศ รวมทั้งควรพิจารณาแนวทางส่งเสริมปัจจัยที่สามารถส่งเสริมได้หลายปัจจัยพร้อมกัน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการด้านระบบสารสนเทศให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางเทคนิคในระดับสูง การพัฒนาระบบให้สามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับแนวทางการดำาเนินงานของผู้สอน และการเปิดโอกาสให้ ผู้สอนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาระบบการเรียนผ่านเว็บth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2016.83-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการเรียนรู้แบบผสมผสาน.th_TH
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศ--การศึกษาและการสอน--ไทยth_TH
dc.titleการพัฒนาโมเดลแบบผสมผสานด้านการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของอาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทยth_TH
dc.title.alternativeThe development of an integrated model for the Web-based Learning Systems adoption of Computer and Information Technology instructors in Thai Universitiesen_US
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2016.83-
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were (1) to explore the adoption of Web-based Learning Systems (WBLS) by Computer and Information Technology (CIT) instructors in Thai universities; (2) to develop and examine an integrated model for WBLS adoption; and (3) to establish strategies for promoting WBLS adoption by CIT instructors in Thai universities. This study employed mixed methods. The integrated model of this research was developed by incorporating four existing models and theories: the technology acceptance model, the IS success model, diffusion of innovations theory, and the theory of reasoned action. Self-administered survey questionnaires were given to 295 CIT instructors from 24 Thai universities, who were randomly selected through a multi-stage sampling to assess the use of WBLS. Later, semi-structured questions were used for focus group-interview of seven purposefully-selected experts. Descriptive statistics and path analysis for causal relationship, and deductive - inductive analysis were used to analyze the quantitative and qualitative data respectively. The research findings indicated that (1) the CIT instructors’ opinions towards WBLS adoption with regard to IS factors, psychological factors, characteristics of innovation, and user behavioral factors were at the quite high level; (2) the proposed integrated model was consistent with the empirical data, and accounted for 81.10% of variance in WBLS adoption. The first three most important factors affecting WBLS adoption, sorted in descending order by their total effect sizes, were intention to use, system quality, and information quality; (3) to promote WBLS adoption, policy makers should pay more attention to factors found to have greater statistical effect (e.g. intention to use, system quality, and information quality) as well as guidelines found to support more than one factor simultaneously (e.g. manpower development and planning, instructor compatibility, and instructor involvement during WBLS implementation).en_US
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153040.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons