Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/292
Title: | การพัฒนาโมเดลแบบผสมผสานด้านการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของอาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทย |
Other Titles: | Development of an integrated model for the Web-based Learning Systems adoption of Computer and Information Technology instructors in Thai Universities |
Authors: | สมพร พุทธาพิทักษ์ผล ภัทราวดี วงศ์สุเมธ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล อภิญญา อิงอาจ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การเรียนรู้แบบผสมผสาน. เทคโนโลยีสารสนเทศ--การศึกษาและการสอน--ไทย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของอาจารย์ ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทย (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลแบบผสมผสานด้านการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของอาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทย และ (3) เพื่อพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทยยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีกรอบแนวคิดการวิจัยผสมผสานระหวางโมเดลและทฤษฎี 4 เรื่อง ได้แก่ โมเดลการยอมรับนวัตกรรมโมเดลความสำเร็จของระบบสารสนเทศ ทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรม และทฤษฎีการกระทำตามหลักเหตุและผล กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในมหาวิทยาลัยไทยจำนวน 295 ราย จาก 24 สถาบัน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้เชี่ยวชาญ 7 คนที่คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ระหวางตัวแปรเหตุและผล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงนิรนัยและอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) อาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทยมีความคิดเห็นต่อการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บ จำแนกตามปัจจัยด้านระบบสารสนเทศ ปัจจัยด้านจิตวิทยา ลักษณะของนวัตกรรม และปัจจัยเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้ ในระดับค่อนข้างมาก (2) โมเดลแบบผสมผสานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บได้ร้อยละ 81.10 โดยปัจจัยสำคัญ 3 ปัจจัยแรกที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บ พิจารณาขนาดอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจในการใช้ คุณภาพในการดำเนินงานของระบบ และคุณภาพของสารสนเทศ (3) แนวทางในการส่งเสริมการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีขนาดอิทธิพลในระดับมาก ได้แก่ ความตั้งใจในการใช้ คุณภาพในการดำเนินงานของระบบ และคุณภาพของสารสนเทศ รวมทั้งควรพิจารณาแนวทางส่งเสริมปัจจัยที่สามารถส่งเสริมได้หลายปัจจัยพร้อมกัน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการด้านระบบสารสนเทศให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางเทคนิคในระดับสูง การพัฒนาระบบให้สามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของผู้สอน และการเปิดโอกาสให้ผู้สอนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาระบบการเรียนผ่านเว็บ |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/292 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
153040.pdf | 7.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License