Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/293
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการบริการสุขภาพของไทยตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กับการบริการสุขภาพตามกฎหมายอื่น และการบริการสุขภาพของต่างประเทศ
Other Titles: A Comparative study of Thai health service under the National Healh Act B. E. 2545 and the other health service acrs and some other countries health service
Authors: ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประกาย วิบูลย์วิภา, 2502- อาจารย์ที่ปรึกษา
สุจารี ตั้งเสงี่ยมวิสัย, 2497-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
สุขภาพ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบถึงการคุ้มครองสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2545 ของคนไทยเปรียบเทียบกับการคุ้มครองสุขภาพตามกฎหมายอื่นๆ ที่มีมาแต่เดิมอันได้แก่พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พระราชกฤษฎีกาสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และสิทธิอื่นๆ เป็นต้น 2) ทราบถึงระบบสุขภาพ และแนวทางมาตรฐานของต่างประเทศเช่นอังกฤษ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์์ให้เห็นแนวทางที่เหมาะสม สําหรับการนํามาปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพของไทยในการให้ความคุ้มครองสุขภาพของประชาชนคนไทย ให้มีความเป็นธรรมและเสมอภาคยิ่งขึ้น 3) เสนอแนะแนวทางในการจัดทำร่างกฎหมายประกันสุขภาพของประเทศไทย อย่างเหมาะสมในอนาคตเมื่อมีการพัฒนา หรือปฏิรูปการดำเนินงานทางด้านระบบสุขภาพเพื่่อให้มีความเท่าเทียมกันและช่วยลดความเหลี่ยมล้ำในการรับบริการทางด้านสุขภาพแก่ประชาชนทุกๆ กลุ่มในประเทศ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่่การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยวิธีการรวบรวมเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งได้แก่่ พระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกา บทความ งานวิจัยวิทยานิพนธ์ หนังสือ ตําราเอกสารในรูปแบบอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งแหล่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตนำข้อมูลมาแยกแยะ จัดเป็นหมวดหมู่โดยทำการศึกษาถึงหลักเกณฑ์ และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องกับประเด็นที่่ได้ตั้งเอาไว้ ผลการศึกษา พบว่า 1) กฎหมายประกันสุขภาพของทั้ง 3 ระบบใหญ่ๆ มีความแตกต่างกันอย่างมาก มีความเหลื่อมล้ำของ ทั้งระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้เนื่องจากปัญหา ที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาทางด้านเงินงบประมาณ ซึ่งมีให้อย่างจำกัด ประกอบกับหลักเกณฑ์ ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎกระทรวงกฎระเบียบ ยังไม่สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ ยังมีความแตกต่างกัน ไม่เป็นเอกภาพ ขาดความชัดเจน ขาดความเป็นรูปธรรมของการบริการ 2) ระบบสุขภาพของต่างประเทศพบวา่ ประเทศไต้หวัน มีสิ่งที่ไทยน่าจะนํามาประยุกต์ใช้ได้กับกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของไทย กล่าวคือ การที่ไต้หวันได้รวบรวมเอากฎหมายประกันสุภาพต่างๆ ที่มีอยู่แต่เดิมทั้งหมดเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ และไม่อยู่ภายใต้ เงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวกับสุขภาพอื่นใด โดยให้สิทธิประโยชน์มากกว่าระบบประกันสุขภาพแบบเดิม ที่มีอยู่มีการควบคุม ดูแล ตรวจสอบ คุณภาพการให้บริการที่ดีพอและวางระบบการจ่ายเงินให้โรงพยาบาลที่เป็นธรรม และคล่องตัว 3) ควรจัดระบบประกันสุขภาพเป็นระบบเดียวโดยมีพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน หรือระบบประกันสุขภาพแห่งชาติที่ให้บุคคล ทุกกลุ่ม อย่างครอบคลุมกันทั้งประเทศ แต่อาจแตกต่างกันที่รายละเอียด หรือให้ผู้ใช้สิทธิรักษาฟรีเดิม แต่อาจจ่ายเงินเพิ่ม โดยให้สิทธิประโยชน์มากกว่าระบบประกันสุขภาพแบบเดิมที่มีอยู่ในแต่ละรูปแบบการรักษาการออกพระราชกฤษฎีกา ให้มีการยุบรวมเป็นระบบเดียวที่มีเอกภาพ จะทำให้ง่ายในการบริหารจัดการ แต่หากยุบรวมไม่่ได้ก็ต้องมีการกำหนดมาตรฐานการรักษาขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน หรืออาจจะต้องทำให้ทุกระบบ มีระบบการบริหารจัดการ และมีสิทธิประโยชน์ที่เหมือนกันได้
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/293
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib133786.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons