Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2935
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา รอดสมบุญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพรรณี ปลิโพธ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-30T04:27:31Z-
dc.date.available2023-01-30T04:27:31Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2935-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและการตัดสินใจออมเงินของสมาชิกสหกรณ์ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 จำกัด จังหวัดชุมพร 2) ความคิดเห็นของสมาชิกต่อคุณภาพการให้บริการ 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของสมาชิกสหกรณ์ และ 4) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 จำกัด จังหวัดชุมพร ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 จำนวน 917 คน กำหนดขนาดตัวอย่างจากสูตรของ ท่าโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.01 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 จำกัด จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 36-50 ปี สถานภาพสมรส ตำแหน่งดาบตำรวจ จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. รายได้ต่อเดือน 25,000 บาทขึ้นไป หนี้สินทั้งหมด 600,000 บาทขึ้นไป สมาชิกในครอบครัว 2-4 คน ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 15 ปีขึ้นไป การตัดสินใจออมเงินของสมาชิก พบว่า ออมเงินประเภทเงินฝากออมทรัพย์ ออมเงินต่อครั้ง 500-1,000 บาท และมีเงินออมรวมในสหกรณ์ 70,000 บาทขึ้นไป 2) ความคิดเห็นของสมาชิกต่อคุณภาพการให้บริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านพบว่า ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ และด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ตามลำดับ 3 ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการ คือ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน หนี้สินทั้งหมด จำนวนสมาชิกในครอบครัว และระยะเวลาการเป็นสมาชิก ส่วนคุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการ ในด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ คือ ความเพียงพอของสิ่งอำนวยความสะดวก และการจัดอุปกรณ์ สถานที่มีความเป็นระเบียบและสะอาด ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ คือ การตรวจสอบความถูกต้องด้านเอกสารการเปิดเผยข้อมูลให้สมาชิกทราบการชี้แจงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติงาน การชี้แจงข้อสงสัย การบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง และการจ่ายคืนเงินฝาก ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ คือ การให้บริการตามลำดับก่อน-หลังการประชาสัมพันธ์การฝากเงิน และข่าวสารด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ คือ เจ้าหน้าที่รับฟังความคิดเห็น มีใช้บริการด้านความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ คือ การให้บริการโดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของสมาชิก การให้บริการมีความเสมอภาค 4) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ คือ ควรปรับปรุงข่าวสารในเว็บไซต์สหกรณ์ให้เป็นปัจจุบัน ปรับปรุงการบริการให้รวดเร็วขึ้น และนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้กับสหกรณ์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41--ความพอใจของผู้ใช้บริการth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 จำกัด จังหวัดชุมพรth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting services decision of Members of Saving Cooperative of Border Patrol Police 41 Limited, Chumphon Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) personal factors and the saving decision of members of Saving Cooperative of Border Patrol Police 41 limited, Chumphon province 2) the opinion of members on the quality of service 3) the relationship between personal factors and service quality that affects the decision of cooperative members and 4) the recommendations in the improvement of service quality. The population of this study was 917 members of Saving Cooperative of Border Patrol Police 41 Limited, Chumphon province on 30 September, 2019. The sample size of 279 was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05. The questionnaires were applied to collect data by using the simple random sampling method. Statistics used in this study were frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test at statistically significant level of 0.01 and content analysis. The results of the study found that 1) most of members of Saving Cooperative of Border Patrol Police 41 Limited, Chumphon province were male, age 36-50 years, married, held police senior sergeant position, graduated with high school/vocation certificate, with monthly income more than 25,000 baht, total debts of more than 600,000 baht, had family members of 2-4 people, and had their membership period for more than 15 years. The saving decision of members were saving account, saving 500-1,000 baht per time, and total saving in the cooperative more than 70,000 baht. 2) The opinion of members on the quality of service that affected the decision had high level of service quality considering in each aspect, it was found that the reliability service had the highest level and followed by the operation service, the understanding and sympathy, the confidence and the responding, respectively. 3) Personal factors which related to the decision to use services were sex, age, status, education, monthly income, total debts, family members and membership period. The quality service related to the decision services was the operation service such as facilities and equipment, tidiness and cleanliness. The reliability service included document validation, the clarification of information and return of deposits. In term of the responding was ranking service, public relation for deposits. In term of the confidence boosting, it would be to listen to opinions. The understanding and sympathy was taking into account of members and equal services. 4) The recommendation was that they should update the information on website, improve service and apply modern technologyen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165959.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons