กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2935
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 จำกัด จังหวัดชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting services decision of Members of Saving Cooperative of Border Patrol Police 41 Limited, Chumphon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุจิตรา รอดสมบุญ พรรณี ปลิโพธ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41--ความพอใจของผู้ใช้บริการ การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและการตัดสินใจออมเงินของสมาชิกสหกรณ์ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 จำกัด จังหวัดชุมพร 2) ความคิดเห็นของสมาชิกต่อคุณภาพการให้บริการ 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของสมาชิกสหกรณ์ และ 4) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 จำกัด จังหวัดชุมพร ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 จำนวน 917 คน กำหนดขนาดตัวอย่างจากสูตรของ ท่าโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.01 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 จำกัด จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 36-50 ปี สถานภาพสมรส ตำแหน่งดาบตำรวจ จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. รายได้ต่อเดือน 25,000 บาทขึ้นไป หนี้สินทั้งหมด 600,000 บาทขึ้นไป สมาชิกในครอบครัว 2-4 คน ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 15 ปีขึ้นไป การตัดสินใจออมเงินของสมาชิก พบว่า ออมเงินประเภทเงินฝากออมทรัพย์ ออมเงินต่อครั้ง 500-1,000 บาท และมีเงินออมรวมในสหกรณ์ 70,000 บาทขึ้นไป 2) ความคิดเห็นของสมาชิกต่อคุณภาพการให้บริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านพบว่า ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ และด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ตามลำดับ 3 ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการ คือ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน หนี้สินทั้งหมด จำนวนสมาชิกในครอบครัว และระยะเวลาการเป็นสมาชิก ส่วนคุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการ ในด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ คือ ความเพียงพอของสิ่งอำนวยความสะดวก และการจัดอุปกรณ์ สถานที่มีความเป็นระเบียบและสะอาด ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ คือ การตรวจสอบความถูกต้องด้านเอกสารการเปิดเผยข้อมูลให้สมาชิกทราบการชี้แจงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติงาน การชี้แจงข้อสงสัย การบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง และการจ่ายคืนเงินฝาก ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ คือ การให้บริการตามลำดับก่อน-หลังการประชาสัมพันธ์การฝากเงิน และข่าวสารด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ คือ เจ้าหน้าที่รับฟังความคิดเห็น มีใช้บริการด้านความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ คือ การให้บริการโดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของสมาชิก การให้บริการมีความเสมอภาค 4) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ คือ ควรปรับปรุงข่าวสารในเว็บไซต์สหกรณ์ให้เป็นปัจจุบัน ปรับปรุงการบริการให้รวดเร็วขึ้น และนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้กับสหกรณ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2935 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
165959.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License